บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า |
2. จัดทำโดย | |
1. | |
2. | |
3. | |
3. อีเมล์ | |
punsaluxtnc310@hotmail.com , channarong243@gmail.com | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า สำหรับเช่ายืมสินค้า โดยระบบสามารถบันทึกข้อมูลสินค้า ข้อมูลสมาชิก ข้อมูลการยืม-คืนและข้อมูลรายรับรายจ่ายได้ การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวรร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน โดยมีการสอนการใช้ระบบในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้ระบบด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.28 |
|
5. บทนำ | |
ในสภาวะของโลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการศึกษา และทางด้านเทคโนโลยี ทำให้มีผู้คิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก และหนึ่งในนั้นคือโปรแกรมสำเร็จรูป ที่สามารถช่วยย่นระยะเวลาในการทำงานลง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีความแม่นยำสูงตามความต้องการของผู้ใช้งาน อีกประการหนึ่งถึงแม้ว่าปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้มีการผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปมาขาย แต่ก็มีข้อจำกัดของซอฟต์แวร์เหล่านั้น เช่น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ซอฟแวร์ไม่เหมาะกับหน่วยงานนั้นๆ โดยเฉพาะความลับของหน่วยงานอาจจะถูกเปิดเผยได้ สืบเนื่องมาจากการเรียนการสอนวิชาวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทางครูผู้สอนวิชาดังกล่าวได้มีการมอบหมายให้ศึกษาเกี่ยวกับระบบของสถานประกอบการ ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการเลือกศึกษาระบบของร้านเช่าหนังสือ พบว่าระบบของร้านนั้น ยังใช้การจดบันทึก ทั้งข้อมูลของสมาชิก ข้อมูลหนังสือหรือแม้แต่ข้อมูลรายรับรายจ่ายก็ตาม ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการออกแบบระบบใหม่โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ก็เป็นเพียงการวิเคราะห์และออกแบบไว้เบื้องต้นเท่านั้น ผู้จัดทำจึงใคร่ที่อยากจะต่อยอดเพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานมากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวทางผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะสร้างระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า เพื่อสร้างและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบร้านเช่ายืมสินค้า โดยใช้ระบบร้านเช่าหนังสือเป็นต้นแบบในการศึกษา เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระในเรื่องการเก็บประวัติสินค้า ประวัติสมาชิก การค้นหาสมาชิก การค้นหาสินค้าต่างๆ หรือแม้แต่ระบบที่แจ้งเตือนสินค้าค้างส่ง ระบบติดต่อสื่อสารทางอีเมล์กับสมาชิกได้ |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
1 ) เพื่อออกแบบและสร้างระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า 2 ) เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า |
|
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
การออกแบบและสร้างระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้ามีรายละเอียด ดังนี้ 1 ) ด้านเนื้อหา ที่นำมาสร้างและหาประสิทธิภาพ ในการสร้างระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้าในรูปแบบออนไลน์ เป็นการมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระบบเช่ายืมให้มีประสิทธิภาพมากขั้น ง่ายต่อการตรวจสอบ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและลดข้อผิดพลาดในการทำงาน 2 ) ด้านขอบข่าย 2.1 ด้านความสามารถของโปรแกรม 2.1.1 ระบบสามารถบันทึกข้อมูลสินค้าได้ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลสินค้ามีดังนี้ - ประเภทของสินค้า - ยี่ห้อ - ราคา - สามารถเพิ่มรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 2.1.2 ระบบสามารถบันทึกข้อมูลสมาชิกได้ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลสมาชิกมีดังนี้ - รหัสสมาชิก - ชื่อสมาชิก - รหัสประจำตัวประชาชนของสมาชิก - ที่อยู่ของสมาชิก - เบอร์โทรติดต่อ และ อีเมล์ของสมาชิก 2.1.3 ระบบสามารถออกบัตรสมาชิกได้ รายละเอียดเกี่ยวกับบัตรสมาชิกมีดังนี้ - วันที่สมัครสมาชิก - รหัสสมาชิก - ชื่อสมาชิก - เบอร์โทรติดต่อ และ อีเมล์ของสมาชิก 2.1.4 ระบบสามารถตรวจเช็คได้สมาชิกที่ค้างส่งสินค้าได้ - ชื่อสินค้าที่ค้างส่ง - ชื่อและรหัส สมาชิกที่ค้างส่ง - ระยะเวลาที่ค้างส่ง - ค่าปรับล่วงเวลา 2.1.5 ระบบสามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าในร้านรวมถึงสามารถแจ้งสถานะของสินค้าได้ 2.1.6 ระบบสามารถออนไลน์ได้ เพื่อให้ให้สมาชิกสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าต่างๆ รวมถึงสินค้า ที่มาใหม่ได้ 2.1.7 ระบบสามารถสรุปยอดรวมรายรับ-รายจ่าย ของทางร้านได้ 2.1.8 ระบบสามารถแก้ไขโครงสร้างภายในของระบบได้ (ระบบหลังบ้าน) 2.2 ด้านทรัพยากร 1 ) โปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ adobe dreamweaver 6 2 ) ระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อ Phpmyadmin 2.3 คู่มือการใช้ระบบเช่ายืมสินค้า 2.4 แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ 2.5 แบบประเมินความพึงพอใจ 3 ) ด้านระยะเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 4 ) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง |
|
8. สมมุติฐาน | |
ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้าในรูปแบบออนไลน์ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ การออกแบบฐานข้อมูลและการเขียนระบบโดยภาษา PHP ร่วมกับ MySQL 2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของระบบและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน 3 ) การสร้างและออกแบบ ระบบควบคุมเช่ายืม-สินค้า 4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบควบคุมเช่ายืม-สินค้า มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้ 5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 6 ) สอนการใช้งานระบบให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 7 ) นักศึกษาทดลองใช้ระบบควบคุมเช่ายืม-สินค้า |
|
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง | |
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
การออกแบบและพัฒนาระบบเช่ายืมสินค้าในรูปแบบออนไลน์ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน 3.1 วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม 3.2 ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3.3 กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม 3.4 ออกแบบและเขียนระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ![]() ภาพที่ 2 กระบวนการตามลำดับชั้นของแผนภาพ DFD ![]() ![]() ![]() ภาพที่ 5 แผนภาพ DFD ระดับ 2 ของกระบวนการที่ 1 ( สมัครสมาชิก ) ![]() ภาพที่ 6 แผนภาพ DFD ระดับ 3 ของกระบวนการที่ 2 ( บันทึกข้อมูลสินค้า ) ![]() ภาพที่ 7 แผนภาพ DFD ระดับ 4 ของกระบวนการที่ 3 ( ยืมสินค้า ) ![]() ภาพที่ 8 แผนภาพ DFD ระดับ 5 ของกระบวนการที่ 4 ( คืนหนังสือ ) ![]() ภาพที่ 9 แผนภาพ DFD ระดับ 6 ของกระบวนการที่ 5 ( ติดต่อลูกค้าทางอีเมล์ ) ![]() ภาพที่ 10 แผนภาพ DFD ระดับ 7 ของกระบวนการที่ 6 ( บัญชี ) ![]() ภาพที่ 11 ผังการตัดสินใจแบบต้นไม้ ![]() ภาพที่ 12 แผนภาพ E-R ของระบบยืมสินค้า ![]() ภาพที่ 13 แสดงหน้า Login ของระบบเช่ายืมสินค้า ![]() ภาพที่ 14 แสดงหน้าเพิ่มสินค้า ของระบบเช่ายืมสินค้า ![]() ภาพที่ 15 แสดงหน้ารายการสินค้า ของระบบเช่ายืมสินค้า ![]() ภาพที่ 16 แสดงหน้าประวัติการยืม ของระบบเช่ายืมสินค้า 3.5 ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ตารางที่ 1 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตารางที่ 2 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 16 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 17 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 18 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 19 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 20 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งาน ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้ามีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โปรดทำเครื่องหมายเช็คถูก ลงใน [ ] ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน ![]() ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมศูนย์ซ่อมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย เช็คถูก ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด 5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด 4 หมายถึง ในระดับดี มาก 3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง 2 หมายถึง ในระดับดี น้อย 1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด ตารางที่ 3 แบบฟอร์มการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรม ![]() ข้อเสนอแนะ ................................................................................................................................. |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ ภาพที่ 17 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน ![]() ภาพที่ 18 การใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้ากับกลุ่มตัวอย่าง ![]() ภาพที่ 19 การใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้ากับกลุ่มตัวอย่าง |
|
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
1) การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์ ![]() IOC คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency) ![]() N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 2) การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ ![]() ![]() ![]() N แทน จำนวนข้อมูล 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) S.D คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง N คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง |
|
10. ผลของการวิจัย | |
การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างและหาประสิทธิภาพระบบควบคุมเช่ายืมสินค้า มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้ ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานได้ ตามฟังก์ชันการทำงาน ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านด้านรูปลักษณ์ และความง่ายต่อการใช้งาน ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม จากตารางที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่เกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรมคิดเป็น 100% ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ คือ ในแต่ละฟอร์มการทำงานระบบตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะสมกับการใช้งานในการเช่ายืมสินค้า ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ จากตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึ่งพอใจในความสามารถในส่วนการเข้าสู่ระบบตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้ระบบ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 5.00) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 4.55) ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน คือระบบมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชัน การทำงาน ![]() จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยการใช้คำสั่งต่างๆ ในส่วนของเมนูมีความสะดวก และ ระบบมีความรวดเร็วในการประมวลผลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.80) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 3.95) ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน คือ ในส่วนของรูปร่าง ลักษณะระบบใช้งานได้ง่าย และภาษาที่ใช้ในการอธิบายสามารถเข้าใจได้ง่าย ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อ การใช้งาน ![]() จากตารางที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.80) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 4.10) ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า มีดังนี้ ตารางที่ 8 ผลการวิเคราะห์ข้อมลประเมินผลการใช้ระบบในภาพรวมทุกด้าน ![]() จากตารางที่ 5 ความพึงพอใจในการใช้ระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ( =4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.83 |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพระบบควบคุมเช่ายืมสินค้า พบว่าระบบควบคุมการเช่ายืมสินค้า สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการเช่ายืมขึ้นอีกมาก จุดเด่นของระบบคือ ระบบสามารถบันทึก ลบและแก้ไขข้อมูลสมาชิก ข้อมูลสินค้าและข้อมูลการยืม-คืนสินค้าได้ ทำให้ลดความเสี่ยงของข้อมูลที่จะสูญหายได้จากเดิมที่ทำการบันทึกลงในกระดาษ มีระบบป้องกันการยืมสินค้าเกินหากยืมสินค้าเกิดจากที่กำหนดไว้ ระบบจะทำการระงับการยืมสินค้าทำให้ไม่สามารถยืมสินค้าได้อีกจนกว่าจะดำเนินการคืนสินค้าทำให้ลดความเสี่ยงที่สินค้าจะสูญหายลดลงทั้งยังช่วยให้เกิดการกระจายสินค้าอย่างทั่วถึง ในส่วนของการตรวจสอบสถานะสินค้าสามาชิกสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าได้จากระบบได้เนื่องจากระบบเป็นระบบออนไลน์ทำให้สมาชิกสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าได้โดยไม่ต้องเสียเวลามาสอบถามกับทางร้านและหากสินค้ายังไม่ถูกยืมหรือจองสมาชิกก็ยังสามารถจองสินค้าได้ก่อนแล้วจึงค่อยมารับสินค้าภายหลังได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ในส่วนของระบบแสดงสถิติของสินค้าในระบบ ระบบจะแจ้งสถิติของสินค้าทั้งสินค้นที่ถูกยืม สินค้าที่ถูกจอง สินค้าที่สูญหายและสินค้าที่มีอยู่ในระบบทำให้ผู้ใช้และสมาชิกรับทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสินค้าภายในระบบอยู่ตลอดเวลา จุดด้อยของระบบจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งาน ทำให้สามารถสรุปข้อด้อยของระบบได้ ระบบยังไม่มีฟังก์ชั่นที่ช่วยค้นหา การค้นหาข้อูมลในระบบเป็นไปได้ยากเมื่อข้อมูลมีจำนวนมาก และในส่วนของรายรับรายจ่าย เป็นเพียงการแสดงรายรับ-รายจ่าย ยังไม่มีการสรุปยอดรวมที่ได้ของรายรับรายจ่าย นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของระบบยังมีในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งานทั้งหมดอยู่ในระดับมาก เพราะระบบสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
1 ) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำที่มีในคู่มือการใช้งาน 1.2 ควรเก็บประวัติของสมาชิก ข้อมูลสินค้า และข้อมูลการยืม-คืนที่มีการบันทึกไว้ ถึงแม้จะมีการยกเลิกการใช้งานก็ตาม เพื่อการรวบยอดรายรับ-รายจ่ายที่ถูกต้อง 1.3 ควรใช้งานอย่างระมัดระวังเพราะหากบันทึกข้อมูลบางอย่างไปแล้วไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้ 2 ) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรเพิ่มฟอร์มค้นหาสินค้า เพื่อให้สะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น 2.2 ในส่วนของรายรับ-รายจ่ายควรเพิ่มระบบรวมรายรับ-รายจ่ายไว้ด้วยเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน 2.3 ในการออกแบบระบบควรนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ |
|
13. บรรณานุกรม | |
บัญชา ปะสีละเตสัง. พัฒนาเว็ปแอปพลิเคชั่น PHP ร่วมกับ MySQL และDreamweaver. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2553. ฝ่ายผลิตหนังสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2551. วิกิพีเดีย. แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 23 ธันวาคม 2558. จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/แคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ ______. ภาษาพีเอชพี. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 23 ธันวาคม 2558. จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาพีเอชพี โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2548. Davery Shafik and others. แปลโดย ทวิร พานิชสมบัติ. รวมเด็ดเคล็ดลับ 101 Tips & Tricks PHP. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2552. |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
![]() ชื่อ-สกุล นายพรรษลักษณ์ ศรีทา เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2538 ที่อยู่ปัจจุบัน 22/1 ซอย 1 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000 วุฒิการศึกษา จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ อีเมล์ punsaluxtnc310@hotmail.com ![]() ชื่อ-สกุล นายชาญณรงค์ เกียรติอำพนธ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2538 ที่อยู่ปัจจุบัน 102 ถนน ร่องซ้อ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000 วุฒิการศึกษา จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานอิเล็คทรอนิกส์ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร 088-2235672 อีเมล์ channarong243@gmail.com |
|
ลิงค์ Youtube vdo | |