บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | การสร้างและหาประสิทธิภาพของป้ายไฟวิ่งNeonPixel |
2. จัดทำโดย | |
1. นาย พิชยุทธตามูล | |
2. นาย วิทวัส ยะปะนันท์ | |
3. นาย สุริยา ชาวลี้แสน | |
3. อีเมล์ | |
stillblackheart@hotmail.com | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยมีการสอนใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.90 |
|
5. บทนำ | |
ศิลปะคือการสื่อสารกับผู้คนทั่วไป ด้วยการใช้อารมณ์ที่สื่อผ่านภาพ เสียง การวาด หรือการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ในแบบที่แตกต่างไปจากคำพูด แม้กระทั่งภาษามือของคนพิการทางหูก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งศิลปะของมนุษย์ ที่ผ่านการคิดค้นออกมา ให้สื่อสารได้มากกว่าการออกเสียง ดังเช่นในปัจจุบันที่มีการใช้แสงสีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร หรือเป็นสัญลักษณ์เพื่อที่จะบ่งบอกถึงความหมายของสิ่งหนึ่งให้เข้าใจตรงกันได้อย่างชัดเจน การนำเอาแสงสีมาทำศิลปะจึงเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่สามารถเอาความสว่างมาเป็นตัวช่วยให้เกิดความสวยงามที่มาพร้อมการใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุม โดยเฉพาะหลอดไฟ LED ที่สามารถให้ความสว่างได้อย่างยาวนาน ศิลปะที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยม นั่นคือป้ายไฟ LED ที่คนในยุคปัจจุบันมักจะคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะร้านค้า ร้านอาหาร ร้านผับ บาร์ หรือร้านคาราโอเกะที่ต้องเปิดร้านในยามค่ำคืน หรือแม้กระทั่งป้ายบอกทาง จึงถือว่าป้ายไฟ LED แทบจะเป็นเครื่องหมายการค้าของร้านต่าง ๆ หรือ สถานที่ต่าง ๆ ที่จะสร้างเอกลักษณ์จากการใช้งานศิลปะผสมผสานกับแสงไฟที่ให้ได้ทั้งความสว่างและความสวยงาม หลอด LED เป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้งานสำคัญหลอดที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและไม่ต้องกลัวขั้วหลอดจะขาดเหมือนกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ เพราะภายในหลอดจะไม่มีการเผาขั้วหลอด ไม่ก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่างที่ได้มาจึงเป็นแสงที่ปลอดภัย เป็นแสงที่มาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ที่เปลี่ยนมาเป็นพลังงานให้แสงสว่างอย่างเต็มที่ และมีหลากหลายสีให้เลือกใช้งาน สร้างความแปลกใหม่ให้แก่วงการหลอดไฟในอนาคตได้ดีเลยทีเดียว นอกจากนี้ขนาดของหลอด LED นั้นก็มีตั้งแต่ 1 watt, 3 watt, 5 watt ไปจนถึง 18 watt มีรูปแบบหลอดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่และมีหลากหลายดีไซน์ จึงทำให้การนำเอาไปใช้งานเพื่อการตกแต่งเป็นไปอย่างง่ายดายและเหมาะสมต่อการนำไปทำงานศิลปะ หรืองานโชว์ไฟตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ อย่างมาก และมีรูปแบบที่ยืดหยุ่นต่อการออกแบบ มีอายุการใช้งานต่อหลอดที่ 50,000-70,000 ชั่วโมง ปัจจุบันป้ายไฟ LED มีการพัฒนาจากแค่นิ่งๆ มาเป็นไฟข้อความวิ่ง โดยการใช้คอนโทรลเลอร์มาเกี่ยวข้อง การจะทำป้ายไฟที่สามารถป้อนข้อความ เปลี่ยนแปลงข้อความตามความต้องการของผู้ใช้ มีทั้งสีเดียวหรือเปลี่ยนสีได้ และการเปลี่ยนสีสันนั้น ต้องใช้หลอด LED แบบ RGB ซึ่งทำให้ต้นทุน หรือราคาขายอุปกรณ์ตามท้องตลาดค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังมีภาคคอนโทรลในการทำที่ยุ่งยาก ซึ่งป้ายไฟวิ่งโดยทั่วไป จะมีลักษณะโดยใช้หลอด LED เรียงต่อกันแล้วใช้ภาคคอนโทรลควบคุมอีกที ซึ่งภาคคอนโทรลนั่นประกอบด้วยอุปกรณ์ อาทิเช่น บอร์ดควบคุม , IC ต่างๆ แล้วทำการเขียนโค้ดควบคุมในคอมพิวเตอร์อีกทีซึ่ง บุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องในการทำเองเป็นไปได้ยากและอาจจะไม่สามารถรับกับราคาอุปกรณ์ไหว ดังนั้น ผู้จัดทำโครงการจึงได้เสนอโครงการการสร้างและหาประสิทธิภาพป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel โดยการใช้หลอด Neo Pixel WS2812B มาใช้ทดแทน หลอด LED RGB ธรรมดา ซึ่งหลอด Neo Pixel มีราคาที่ต่ำกว่า หลอด LED RGB เพื่อลดต้นทุนในการประดิษฐ์ |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
1) เพื่อสร้างป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel เพื่อต้นทุนทดแทนจากหลอด LED 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel |
|
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
1. ด้านเนื้อหา (1) บอร์ด Arduino uno R3 (2) หลอด NeonPixel (3) โปรแกรม Gladiator Software (4) โปรแกรม Arduino IDE 2. ด้านเวลา ผู้วิจัยได้ใช้เวลาดำเนินการ เริ่มวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 |
|
8. สมมุติฐาน | |
การสร้างและพัฒนาเครื่องกดน้ำร้อนและเย็นอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
กลุ่มเป้าหมายที่ 1 เพื่อทดลองใช้ป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel กำหนดจากผู้มีประสบการณ์/เชี่ยวชาญทางด้านอุปกรณ์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 คน และนักศึกษาสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์จำนวน 10 คน กลุ่มเป้าหมายที่ 2 เพื่อการใช้งานป้ายไฟด้วยหลอด Neo Pixel คือ ครูผู้สอนภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 3 คน และนักเรียนนักศึกษาภายในสาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ในวิทยาลัยเทคนิคแพร่ จำนวน 10 คน |
|
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
3.1 วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการสร้างป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ศึกษาสภาพปัญหา พบว่า การเปิดใช้งานจะต้องต่อแหล่งจ่ายไฟทุกครั้งเนื่องจากไม่ได้ใช้แหล่งจ่ายแบบแบตเตอร์รี่ 3.2 ศึกษาทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้อง ความเป็นมาของป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ศิลปะคือการสื่อสารกับผู้คนทั่วไป ด้วยการใช้อารมณ์ที่สื่อผ่านภาพ เสียง การวาด หรือการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ในแบบที่แตกต่างไปจากคำพูด แม้กระทั่งภาษามือของคนพิการทางหูก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งศิลปะของมนุษย์ ที่ผ่านการคิดค้นออกมา ให้สื่อสารได้มากกว่าการออกเสียง ดังเช่นในปัจจุบันที่มีการใช้แสงสีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร หรือเป็นสัญลักษณ์เพื่อที่จะบ่งบอกถึงความหมายของสิ่งหนึ่งให้เข้าใจตรงกันได้อย่างชัดเจน การนำเอาแสงสีมาทำศิลปะจึงเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่สามารถเอาความสว่างมาเป็นตัวช่วยให้เกิดความสวยงามที่มาพร้อมการใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุม โดยเฉพาะหลอดไฟ LED ที่สามารถให้ความสว่างได้อย่างยาวนาน 3.3 กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม การสร้างและหาประสิทธิภาพป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ตารางที่ 3-1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ ตามลำดับดังนี้ การออกแบบโครงสร้าง โดยมีความกว้าง 46 cm ยาว 1.5 cm สูง 12 cm ดังแสดงในภาพที่3-1 ภาพที่ 3-1การสร้างโครงสร้างป้ายไฟตามแบบ บักกรีหลอดเข้าด้วยกัน ดังแสดงในภาพที่ 3-2 ภาพที่ 3-2 ขณะบักกรีหลอด เตรียมบอร์ดสำหรับผลการทำงาน ดังแสดงในภาพที่ 3-3 ภาพที่ 3-3 บอร์ดสำหรับการทำงาน เตรียมซอฟต์แวร์สำหรับการควบคุมการทำงาน Arduino IDE และ Gladiator ดังแสดงในภาพที่ 3-4 ภาพที่ 3-4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับควบคุม ติดตั้งหลอดลงโครงสร้างป้าย ดังแสดงในภาพที่ 3-5 ภาพที่ 3-5 การติดตั้งหลอดลงบนโครงสร้างป้าย ติดตั้ง Power Supply และ บอร์ด Arduino ลงโครงสร้างป้ายที่ด้านหลัง ดังแสดง ในภาพที่ 3-6 ภาพที่ 3-6 การติดตั้ง Power Supply และ บอร์ด Arduino |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการใช้ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 7 ตอนดังนี้ ตารางที่1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ตารางที่2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง ตารางที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในการใช้งาน ตารางที่5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า ตารางที่6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า ตารางที่7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล แทนค่าเฉลี่ย S.D. แทนค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน P แทนค่าร้อยละ |
|
10. ผลของการวิจัย | |
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องขาย ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
ป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ที่สร้างขึ้นมานั้น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความสามารถที่เหมือนกับหลอด LED แต่มีความสะดวกในการใช้งานเนื่องจากภายในหลอดมี IC ที่ติดมากับหลอด ซึ่งการสร้างป้ายไฟวิ่งด้วยหลอด Neo Pixel ใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาหลักการทำงานของหลอด Neo Pixel หลังจากการหาประสิทธิภาพ วัสดุที่ใช้มีความแข็งแรง ขนาดของป้ายไฟ มีความเหมาะสมและความสะดวกในการใช้งานโดยมีความปลอดภัยในการใช้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นในเรื่องการปรับค่าการแสดงผลที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นการทำงานด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และการทำงานของหลอด ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และการทำงานของหลอดและระบบการทำงานเป็นอย่างมากเพราะจะต้องคำนึกถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ (1) ระวังในเรื่องการบักกรีระหว่างหลอด (2) การติดตั้งป้ายไฟ ควรติดตั้งไม่ไกลจากแหล่งจ่ายไฟ 2. ข้อเสนอแนะเพื่องานวิจัยครั้งต่อไป (1) ควรเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยอาจจะเพิ่มจำนวนหลอดมากกว่านี้ (2) มีการออกแบบโครงสร้างสำหรับใส่หลอดที่แข็งแรงมากกว่าเดิม (3) ควรออกแบบความแข็งแรงโครงสร้างของป้ายไฟมากขึ้นกว่าเดิม |
|
13. บรรณานุกรม | |
เกี่ยวกับ Arduino Board. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก http://www.thaieasyelec.com/article-wiki/basic-electronicsarduinoA3--arduino.html, http://arduino-r3.blogspot.com/2015/09/arduino-uno-r3.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559) เกี่ยวกับ Switching Power Supply. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก https://www.factomart.com/th/factomartblog/principle-of-switching-power-supply/. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559). เกี่ยวกับหลักการทำงานของหลอด Neo Pixel WS2812b. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก http://cpre.kmutnb.ac.th/esl/learning/index.php?article=ws2812-rgb-led-fastspi, https://www.thitiblog.com/blog/769. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559). เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ Gladiator. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก http://www.solderlab.de/index.php/software/glediator. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559). เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ Arduino IDE. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก https://www.arduino.cc/en/main/software. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2559). เกี่ยวกับ ความเป็นมาของป้ายไฟ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก http://www.xn--s3cii7dte1a.cc. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 ธันวาคม 2559). |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
ลิงค์ Youtube vdo | |