บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | การพัฒนาและหาประสิทธิภาพพัดลมรอบทิศทาง |
2. จัดทำโดย | |
1. นายธีรธนา ป่าธนู | |
2. นางสาวธนัญญา ต๊อดแก้ว | |
3. นายสิทธิพันธ์ ศักดาธรรมนาถ | |
3. อีเมล์ | |
ttk_love201@hotmail.cob , Tany_seed@hotmail.com, ttodkeaw@gmail.com , | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างพัดลมรอบทิศทาง เรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพของพัดลมรอบทิศทาง เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้นในการใช้พัดลมต่อคนจำนวนมากหรือเป็นหมู่คณะและสามารถนำพัดลมภายในบ้านใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยทำให้พัดลมสามารถหมุนได้รอบทิศทางโดยสายไฟไม่พันกัน กระจายลมได้ไกลอย่างน้อย3เมตร และยังประหยัดไฟเวลาใช้ ใช้กับคนที่อยู่เป็นหมู่คณะโดยที่เราไม่ต้องใช้พัดลมหลายตัวเพื่อใช้ต่อคนเพียงกลุ่มเดียวแต่ใช้พัดลมรอบทิศทางก็จะสามารถกระจายลมได้ทั่วและสามารถตั้งกลางบริเวณคนหลายกลุ่ม กลุ่มคนก็สามารถรับลมได้ทุกกลุ่มที่โดนใช้พัดลมเพียงตัวเดียว การดำเนินการโครงการใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่1 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2559 จำนวน20คน โดยให้ทดลองใช้พัดลมรอบทิศทางที่สร้างขึ้น เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้พัดลมรอบทิศทาง ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า พัดลมรอบทิศทางที่พัฒนาขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.72 |
|
5. บทนำ | |
ในปัจจุบันตามบ้านเรือนมีการใช้พัดลมเพียงตัวเดียวโดยตามชีวิตประจำวันจะมีการใช้พัดลมมากกว่าหนึ่งตัวในการใช้พัดลมต่อคนจำนวนมากหรือเป็นหมู่คณะและสามารถนำพัดลมภายในบ้านใช้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทำให้พัดลมสามารถกระจายทิศทางลมได้รอบทิศทางและกระจายลมได้ไกลอย่างน้อย 3 เมตรและยังประหยัดไฟเวลาใช้กับคนที่อยู่เป็นครอบครัวโดยไม่ต้องใช้พัดลมหลายตัวแต่เมื่อคนเพียงกลุ่มเดียวแต่ใช้พัดลมรอบทิศทางก็สามารถกระจายลมได้ทั่วและสามารถตั้งกลางบริเวณคนหลายกลุ่มและกลุ่มคนก็สามารถรับลมได้โดยใช้พัดลมเพียงตัวเดียว โดยทั่วไปพัดลมที่มีขายตามท้องตลาดเป็นพัดลมแบบตั้งโต๊ะหรือพัดลมตั้งพื้นที่สามารถนำไปติดตั้งและใช้งานตามสถานที่ต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ส่วนมากทิศทางของการกระจายแรงลมจากซ้ายไปขวาประมาณ 120 องศา ทำให้ผู้ที่อยู่ด้านข้างและด้านหลังพัดลมไม่ได้แรงลมที่เกิดจากที่ทำงานของพัดลมดังกล่าว เมื่อต้องการให้แรงลมการกระจายครอบคลุมพื้นที่ใช้งานจำเป็นต้องติดตั้งพัดลมมากกว่าหนึ่งตัวทำให้เสียค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงมีความคิดที่จะจัดสร้างพัดลมที่กระจายแรงลมได้รอบตัว เพื่อการกระจายของลมรอบทิศทางจากพัดลมตัวเดียว ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานและเกิดความประหยัดในด้านค่าใช้จ่าย |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
1) เพื่อสร้างพัดลมกระจายลมรอบทิศทาง 2) เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมกระจาย |
|
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
1 ด้านเนื้อหา 1.1 ใบพัด 1.2 มอเตอร์ไฟฟ้า 1.3 สวิตซ์ควบคุมการทำงาน 2 ด้านทรัพยากร 2.1 เส้นผ่านศูนศ์กลางของฐานพัดลม 20 นิ้ว 2.2 ใบพัดขนาด 16 นิ้ว 2.3 ความสูงของเครื่อง 135 เซนติเมตร 2.4 ความเร็วของพัดลมได้ 3 ระดับ เบอร์ 1,2,3 2.5 รีโมทควบคุมไร้สาย 3 ด้านระยะเวลาและกลุ่ตัวอย่าง 3.1 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 3.2 กลุ่มตัวอย่าง 20 คน |
|
8. สมมุติฐาน | |
พัดลมสามารถใช้งานได้อย่างดีมีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการใช้งาน | |
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
1) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบพัดลมรอบทิศทาง 2) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของพัดลมรอบทิศทางและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน 3) ออกแบบและการสร้างพัดลมรอบทิศทาง 4) ทดสอบหาประสิทธิภาพของพัดลมรอบทิศทาง มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้ 5) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ชั้นปีที่ 1 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 6) สอนการใช้งานพัดลมให้กับกลุ่มตัวอย่าง 7) อาจารย์และนักศึกษาทดลองใช้งานพัดลมรอบทิศทาง |
|
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง | |
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
การสร้างและหารประสิทธิภาพของพัดลมมีขั้นตอนในการออกแบบโดยเอียด ดังต่อไปนี้ รูปที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประมาณความต้อองการของผู้ใช้นวัตกรรม 2) ศึกษาทฤษฏีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3) กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม โครงการสร้างและหาประสิทธิภาพพัดลมรอบทิศทาง ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ตารางที่ 1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง 4) หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนาวัตกรรม (1) โครงพัดลม กว้าง 16 เซนติเมตร, สูง 135 เซนติเมตร (2) ใบพัด 14 นิ้ว (3) มอเตอร์พัดลม 5) ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม ดังนี้ รูปที่ 2 โครงเหล็กพัดลมรอบทิศทาง รูปที่ 3 ขนาดโครงสร้างพัดลมรอบทิศทาง 6) สร้างนวัตกรรมตามที่ออกแบบ ตามลำดับดังนี้ (1) การออกแบบโครงสร้าง โดยมีความกว้าง 16 cm สูง 135 cm รูปที่ 4 โครงสร้างของพัดลมรอบทิศทาง (2) วงจรแสดงผลการทำงาน รูปที่ 5 วงจรแสดงผลการทำงาน (3) พัดลมรอบทิศทาง ที่สำเร็จ รูปที่ 6 พัดลมรอบทิศทาง ที่สำเร็จ 7) ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ตารางที่ 2 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตารางที่ 3 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ รูปที่ 7 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน รูปที่ 8 การทดลองใช้พัดลมรอบทิศทาง รูปที่ 9 การทดลองใช้พัดลมรอบทิศทาง |
|
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
10. ผลของการวิจัย | |
1 ความพึงพอใจในการใช้พัดลมรอบทิศทาง ในการทดลองใช้งานเพื่อหาประสิทธิภาพของพัดลม ในการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานพบว่า ความแข็งแรงของเครื่องได้มาตรฐานตามที่ตั้งไว้ น้ำหนักของเครื่องอยู่ที่ 35 กิโลกรัม ขนาดของชุดฝึกมีความกว้าง 16 เซนติเมตร และความสูง 70 เซนติเมตร สามารถเคลื่อนย้ายได้ใช้ทุกสภาพแวดล้อมตามที่ตั้งไว้ 5.1.2 ความพึงพอใจในการใช้ พัดลมรอบทิศทาง ด้านการตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน พบว่า ความพึ่งพอใจในความสามารถของพัดลม ส่วนความเย็นให้รอบทิศทาง เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมามีความพึ่งพอใจในความสามารถของความเย็นในใบพัดลมอยู่ในระดับมาก 5.1.3 ความพึงพอใจในการใช้พัดลมรอบทิศทาง ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน พบว่า ความพึ่งพอใจในพัดลมที่สร้างมีความครอบคลุมกับการใช้งานจริง เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมามีความพึ่งพอใจในความเร็วในการประมวลผลของพัดลม ในส่วนของเมนูมีความสะดวกและความเร็วในการใช้งานพัดลม อยู่ในระดับมาก 5.1.4 ความพึงพอใจในการใช้พัดลมรอบทิศทาง ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน พบว่า ความพึ่งพอใจในความเหมาะสมในการระบบการใช้งานกับผู้ใช้ เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมาก 5.1.5 ความพึงพอใจในการใช้พัดลมรอบทิศทาง ด้านภาพรวมทุกด้าน พบว่า ความพึ่งพอใจในด้านการทำงาน เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมาก รองลงมามีความพึ่งพอใจในด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้อยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพพัดลมรอบทิศทาง พบว่าพัดลมรอบทิศทาง สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการคนทั่วไปได้ดี ในรูปแบบของความเย็น มีโครงสร้างข้อสอบให้เลือกหลายรูปแบบ จุดเด่นของพัดลมคือพัดลมสามารถใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ให้ความเย็นได้เป็นการสอบสมัยใหม่ที่ใช้ในการสอบของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดด้อยของพัดลมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของพัดลมที่ได้ คือ ความแข็งแรงของโครงสร้างไม่แข็งแรงมากนัก นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของพัดลมรอบทิศทางยังมีในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงาน ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งานทั้งหมดอยู่ในระดับมากเพราะพัดลมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบของโครงสร้างพัดลม ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ (1) หลังจากใช้พัดลมรอบทิศทางควรถอดปลั๊กให้เรียบร้อย เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน (2) ในการใช้งานควรนำไปตั้งใช้งานที่เหมาะสม 2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป (1) ควรเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยอาจจะเพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่านี้ (2) ควรพัฒนาโครงสร้างของพัดลมให้แข็งแรง |
|
13. บรรณานุกรม | |
พเยาว์ เนตรประชา. การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.ipesp.ac.th บุญชม ศรีสะอาด. การวิเคราะห์ข้อสอบ พัฒนาวัดผล. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. การทดสอบแบบอิงเกณฑ์. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์ วิกิพีเดีย. เรื่องทฤษฎี เกี่ยวกับภาษาต่างๆในการเขียนโปรแกรม.2559 [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา . การวัดผลประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
ชื่อ-สกุล นางสาวธนัญญา ต๊อดแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 ที่อยู่ปัจจุบัน 37 ม.10 ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ เบอร์โทร 080-4425075 อีเมล์ ttodkeaw@gmail.com อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อภิชาติ มากมาย ชื่อ-สกุล นายสิทธิพันธ์ ศักดาธรรมนาถ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2541 ที่อยู่ปัจจุบัน 75/2 ม.7 ต.ป่าแมต อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 54000 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ เบอร์โทร 088-7767493 อีเมล์ Tany_seed@hotmail.com อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อภิชาติ มากมาย ชื่อ-สกุล นายธีรธนา ป่าธนู เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2541 ที่อยู่ปัจจุบัน 70/1 ม.2 ต.ป่าแมต อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 5400 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ เบอร์โทร 092-6507750 อีเมล์ ttk_love201@hotmail.cob อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อภิชาติ มากมาย |
|
ลิงค์ Youtube vdo | |