บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | การพัฒนาตู้ยาคนตาบอด |
2. จัดทำโดย | |
1. นายธนากร เทียมตา | |
2. นางสาวกัลย์สุดา โลกคำลือ | |
3. นางสาวทาริกา สมบูรณ์ | |
3. อีเมล์ | |
thanakon704@icloud.com | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบและศึกษาการพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ตู้ยาคนตาบอด สำหรับใช้ในการเป็นตู้ยาเพื่อให้คนตาบอดได้ใช้งานโดยเครื่องเวลาดึงลิ้นชัก ออกมาแล้วจะมีเสียงบอกชื่อยาแต่ละช่องเสียงที่ออกมานั้นจะใช้งานผ่านสวิตซ์ในวงจรชุดคิด การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์(โดยใช้วิธีการทดลองใช้ ผ้าปิดตาในการใช้งาน) จำนวน 20 คน โดยให้ทดลองใช้เครื่องที่สร้างขึ้น เสร็จแล้วเราจึงใช้วิธีการสอบถามความพึงพอใจในการใช้ เครื่องตู้ยาคนตาบอดกับผู้พิการว่ามีความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องตู้ยาคนตาบอด ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.55 |
|
5. บทนำ | |
ในปัจจุบันสังคมไทยได้มีคนพิการทางสายตาเพิ่มมากขึ้นและยังมีผู้สูงอายุที่มีปัญหา ทางการมองเห็นมาก ในปัจจุบันฉะนั้นเราจึงมองเห็นปัญหาและอยากแก้ไขปัญหานี้ ให้ดีขึ้นมากกว่าเดิมเพราะ ปัจจุบันผู้คนที่มีปัญหาที่ได้กล่าวมานั้น อาจเป็นภาระบ้างส่วนของญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดที่ไม่มีเวลาดูแลหรืออาศัยอยู่ตัวคนเดียวได้มีการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นโดย ที่ไม่เป็นภาระหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับญาติหรือคนใกล้ชิดและอยากตอบโจทย์ความไม่สะดวก ในการรับประทานยาที่บ้างครั้งอาจทำให้ผู้พิการนั้นเกิดความสับสนในการเลือกรับประทานยาไม่ถูกต้อง ตามที่ต้องการได้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการคิดค้นขึ้นมาตามวัตถุประสงค์ ตู้ยาสำหรับผู้พิการทางสายตาในปัจจุบันจึงสำคัญมากในยุคที่มีเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ ที่สามารถเอามาพัฒนาเพื่อสร้างให้เกิดความสะดวกแก่ผู้พิการในสมัยปัจจุบันเพื่อเป็นประโยชน์ และในปัจจุบันเคยมีรุ่นพี่บ้างส่วนที่ได้เห็นปัญหานี้มานานแล้วจึงได้คิดค้นกล่องตู้ยาแบบอัดเสียง ได้เพื่อสำหรับบุคคลที่พิการทางการมองเห็นได้สามารถที่ยินเสียงทางตู้ที่เปิดมานั้นได้เข้าใจว่า รับประทานยาตัวไดบ้างในรูปทรงของตู้ยานั้นเป็นแบบตู้พลาสติกใสและเป็นการบันทึกเสียงได้แบบ ครั้งเดียวตลอดหรือถาวร จากปัญหาดังกล่าว ผู้จัดทำมีแนวคิดที่จะพัฒนาการทำงานของตู้ยาคนตาบอดเพื่อให้มีคุณภาพ การทำงานที่ดีขั้นจากเดิมเพื่อคนตาบอดได้รับประโยชน์การใช้งานที่หลากหลายและสะดวก ปลอดภัยขั้นและนำเอาความรู้ที่ได้ศึกษามานำไปแก้ไขกับปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
1) เพื่อพัฒนา ตู้ยาคนตาบอด 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของตู้ยาคนตาบอดทั่วไป ที่มีอยู่แล้วได้พัฒนาให้มีประโยชน์การใช้งานมากขึ้นจากเดิม |
|
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
เครื่องตู้ยาคนตาบอด มีรายละเอียด ดังนี้ 1.เนื้อหาสาระที่ต้องการพัฒนา 1) ชุดคิดอัดเสียง ประเภท MXA113 วงจรบันทึกเสียง 680 วินาที 8 ข้อความ 2) ตัวกล่องยา 3) ลำโพงขยายเสียง 4) แบตเตอรี่แห้ง 500 mA 5) วงจรวัดระดับแบตเตอรี่ 2. เนื้อหาด้านทรัพยากร 1) สามารถส่งเสียงบอกชนิดยาออกมาได้ 2) อัดเสียงได้ยาวนาน 3) ใส่ยาได้ 16 ช่อง 4) ตัวกล่องยาทำจากไม้ |
|
8. สมมุติฐาน | |
เครื่องตู้ยาคนตาบอดสามารถใช้งานได้จริงกับผู้พิการทางสายตาอย่างมีประสิทธิภาพ | |
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
1) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบวงจรการออกแบบด้านโครงสร้าง 2) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของวงจรและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน 3) การสร้างและออกแบบเครื่องตู้ยาคนตาบอด 4) ทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องตู้ยาคนตาบอด มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้ 5) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา เทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการให้ผู้ใช้งานได้ปิดตาทดลองใช้งาน 6) สอนการใช้งานเครื่องตู้ยาคนตาบอดให้กับผู้ใช้งาน 7) นักศึกษาทดลองใช้เครื่องตู้ยาคนตาบอด |
|
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการให้ผู้ใช้งานได้ปิดตาทดลองใช้งาน |
|
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของตู้ยาคนตาบอดการทำงานของวงจรมีขั้นตอนการออกแบบโดยรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ(ต่อ) 1. วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม 2. ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 1) ประเภทของวงจร และหลักการทำงาน 2) แหล่งจ่ายไฟ ที่ใช้ต่อกับวงจร 3) การควบคุมโดยสวิตซ์ กดติดปล่อยดับ 4) ข้อดีและข้อด้อยของวงจร 5) หลักการทำงานของแบตเตอรี่ 6) แหล่งเก็บไฟของแบตเตอรี่ 7) ข้อดีและข้อด้อยของแบตเตอรี่ 8) รูปแบบลักษณะของตู้ยา 9) ลิ้นชักที่ใส่ยา 10) ขนาดและราคา 11) ข้อดีและข้อด้อยของตู้ยาไม้ 3. กำหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 4. หาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 1) วงจรชุดคิด MXA113 ใช้ไฟเลี้ยงวงจร 12 โวลท์ดีซี 2) วงจรการแจ้งเตือนไฟตก 915FK 12V พร้อมบัซเซอร์ (ชุดคิท) 3) ไมโครสวิตซ์แบบ Donghai kw4-3z-3 4) ตู้ยาไม้เอ็ม 5) ลำโพงขนาด 2.5 ซม. 5.ออกแบบสร้างและพัฒนานวัตกรรม 1) ขนาดความกว้าง ความสูงของตู้ยา ภาพที่ 2 ขนาดความกว้าง ความสูงของตู้ยา ภาพที่ 3 ขนาดความกว้าง ความสูงของตู้ยา(ต่อ) 2) ทำขนาดของสิ้นชักใส่ยา ภาพที่ 3 ทำขนาดของสิ้นชักใส่ยา 3) เจาะรูด้านหลังตู้เพื่อใส่สายไฟเข้ากับวงจร ภาพที่ 4 เจาะรูด้านหลังตู้เพื่อใส่สายไฟเข้ากับวงจร 4) หลักการสร้างวงจรชุดคิด MXA113 ภาพที่ 5 หลักการสร้างวงจรชุดคิด MXA113 5) อัดเสียงเข้าไปในวงจร ภาพที่ 6 อัดเสียงเข้าไปในวงจร 6) ต่อสายไฟเข้ากับวงจร ภาพที่ 7 ต่อสายไฟเข้ากับวงจร 7) การสร้างไมโครสวิตซ์ในช่องลิ้นชัก ภาพที่ 8 การสร้างไมโครสวิตซ์ในช่องลิ้นชัก 8) นำสวิตซ์มาติดกับช่องด้านในลิ้นชัก ภาพที่ 9 นำสวิตซ์มาติดกับช่องด้านในลิ้นชัก 9) ทำกล่องใส่วงจรติดด้านหลัง ภาพที่ 10 ทำกล่องใส่วงจรติดด้านหลัง 10) ติดกล่องใส่วงจรเข้ากับตู้ยา ภาพที่ 11 ติดกล่องใส่วงจรเข้ากับตู้ยา 11) การวิเคราะห์ออกแบบการประเมินนวัตกรรม ภาพที่ 12 การวิเคราะห์ออกแบบการประเมินนวัตกรรม แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้เครื่องตู้ยาคนตาบอด แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อตู้ยาคนตาบอด เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อการใช้ตู้ยาคนตาบอด ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงการใช้งานของตู้ยาคนตาบอดให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานตู้ยาคนตาบอด มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง ด้านที่ 2 ด้านการใช้งาน ด้านที่ 3 ด้านคุณค่าโดยสรุป ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้ตู้ยาคนตาบอด ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ตู้ยาคนตาบอด ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานของวงจรที่ใช้งาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานของตู้ยาคนตาบอด คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ü ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด 5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด 4 หมายถึง ในระดับดี มาก 3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง 2 หมายถึง ในระดับดี น้อย 1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ข้อเสนอแนะ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… แบบประเมินประสิทธิภาพของเครื่องตู้ยาคนตาบอด วิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องตู้ยาคนตาบอด ระหว่างความสมารถทางด้านการทำงานที่คาดคะเนกับคุณสมบัติของเครื่องที่ทำได้จริง ตามคุณสมบัติด้านเทคนิค ดังนี้ การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้เชี่ยวชาญ แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เสนอโครงการได้เลือกนักศึกษา ปวช.และผู้สูงอายุรวม จำนวน 20 คน มีทดลองใช้เครื่องตู้ยาคนตาบอด และตอบแบบสอบถาม ดังแสดงในภาพที่13 ภาพที่ 13 ผู้สูงอายุทดลองการใช้งาน |
|
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม |
|
10. ผลของการวิจัย | |
การวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบและศึกษาการใช้ในการพัฒนาและหาประสิทธิภาพ การทำงานตู้ยาคนตาบอดมีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของ การศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 7 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการใช้งาน ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านความคุ้มค่า ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านคุณค่า ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมในภาพรวมทุกด้าน สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของนวัตกรรม ตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเครื่องตู้ยาคนตาบอด ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม จากตารางที่ 4.2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 10 คน เพศหญิง 10 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ใช้งานตู้ยาคนตาบอด คิดเป็น 100% 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านโครงสร้าง ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้ตู้ยาการทำงานของวงจรอัดเสียงที่ผ่าน การใช้งานทดสอบการใช้งานด้านที่ 1 ด้านโครงสร้าง คือความแข็งแรงของเครื่อง |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
การสร้างและพัฒนาเครื่องตู้ยาคนตาบอดเพื่อผู้พิการทางสายตา เป็นงานวิจัยประเภทสิ่งประดิษฐ์ที่คณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นในการศึกษาวิชาโครงการ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ปีพุทธศักราช 2560 สาชางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องตู้ยาคนตาบอด ทำการทดลองจากนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ปัญหาและข้อเสนอแนะและประโยชน์ที่ได้รับ |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1) จากผลการศึกษาและพัฒนาพบว่า ตู้ยาโดยใช้เป็นสวิตซ์เป็นตัวยึดในช่องใส่ยาให้มีเสียง สร้างขึ้นเหมาะสำหรับผู้พิการทางสายตาและผู้สูงอายุที่ได้ใช้งานตู้ยาเพื่อให้ได้ทานยาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยให้ความสะดวกและใช้งานได้ง่ายมากขึ้น 2) ในการใช้งานสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือความปลอดภัยในการใช้ตู้ยาที่มีเสียงในการใช้งาน ทำงานผ่านตัวสวิตซ์ที่ต่อเข้ากับวงจรชุดคิด |
|
13. บรรณานุกรม | |
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์. มูลนิธิปณิธานสานความรู้ แก่เพื่อนผู้พิการการมองเห็น ได้ฝึกฝนวิชาชาญควรบำเพ็ญ. 420 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โครงการให้ความช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาคนตาบอด (ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวยาและการรับประทานยาของบุคคลตาบอด) ศูนย์โรงพยาบาลแพร่ .วิธีวิจัยจากโรงพยาบาลแพร่ ศูนย์หนังสือผู้พิการทางการมองเห็น โรงพยาบาลแพร่ 2540.โรงพยาบาลแพร่144 ถ.ช่อแฮ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ 54000 |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
ลิงค์ Youtube vdo | |