บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน |
2. จัดทำโดย | |
1. นายทินภัทร บ่อคำ | |
2. นายณัฐมงคล ไชยแว่น | |
3. | |
3. อีเมล์ | |
tinnapatbawkam@gmail.com, chaiwaen.nat@gmail.com | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน โดยโปรแกรมสามารถจัดตารางสอนของครูและนักเรียนและคำนวณค่าสอนนอกเวลาของครูได้ การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีการสอนการใช้โปรแกรมในครั้งแรก จากนั้นจึงให้ทดลองใช้โปรแกรมด้วยตนเอง เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ย 2.15 |
|
5. บทนำ | |
ในปัจจุบันการเรียนการสอน มีการแบ่งช่วงเวลาของการเรียนการสอน ออกเป็นคาบชั่วโมง และรวมไปถึงการจัดแบ่งห้อง แบ่งกลุ่มของนักศึกษา จึงทำให้เกิดการจัดตารางสอนขึ้นมาเพื่อให้ผู้สอน ครูผู้สอน ได้เข้าไปสอนนักเรียน นักศึกษาตามที่ได้มอบหมายไว้ในตารางสอน แต่การจัดตารางสอนนั้น ยุ่งยากเนื่องจากจำนวนชั่วโมงเรียนและคาบเรียนมีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงครูผู้สอนที่มีข้อจำกัดในการสอน ไม่สามารถสอนซ้ำในชั่วโมง หรือ คาบสอนนั้นได้ ในบางครั้งจึงทำให้เกิดการจัดตารางสอน เพื่อแบ่งหน้าที่ของครูผู้สอนนั้นเกิดความผิดพลาดและสับสนในการจัดตารางสอนบนโปรแกรมที่ใช้อยู่ อีกทั้งการคิดคำนวณค่าสอนของ ผู้สอน หรือ ครูผู้สอนนั้น ยังไม่มีโปรแกรมใดที่รองรับการใช้งานโดยตรง จากการที่ผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาการจัดตารางเรียนที่ยุ่งยากนั้น ทั้งนี้ผู้จัดทำจึงจัดทำโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอนที่สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้นมา โดยที่โปรแกรมนี้จะสามารถจัดคาบเรียนคาบสอนได้แม่นยำ ไม่ซ้ำกัน สามารถใส่ชื่อครูผู้สอน จำนวนคาบเรียนที่สอน กลุ่มที่เรียน ห้องที่เรียน รหัสรายวิชานั้นๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และมีหน้าแสดงผลลัพธ์ที่จะแสดง หน้าตารางสอนชั้นเรียน คือตารางสอนหลักที่มีข้อมูลที่เราใส่เข้าไปทั้งหมด ตารางการใช้ห้อง คือตารางที่แสดงการใช้ห้องของแต่ละห้องและตารางสอนส่วนบุคคล คือตารางที่จะแสดงตารางสอนของแต่ละคนของครู ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงจัดทำโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอนเพื่อให้ผู้ใช้งานลดเวลาการจัดตารางสอน และยังสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
1) เพื่อสร้างโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน |
|
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
1. ด้านขอบข่ายมีรายละเอียดดังนี้ (1) ใช้โปรแกรม Dream Weaver CS 6 ในการเขียนโค๊ดและคำสั่งต่างๆ (2) ใช้ภาษา HTML , CSS , PHP , JavaScrip (3) ใช้ฐานข้อมูลภาษา SQL 2 ด้านเนื้อหา 2.1 หนังสือส่วนที่ 1 (1) ตารางสอนชั้นเรียน (2) ตารางการใช้ห้อง (3) ตารางสอนส่วนบุคคล 2.2 หนังสือส่วนที่ 2 (1) แบบใบเบิกค่าสอนพิเศษ (2) แบบใบเบิกค่าสอนพิเศษในสถานศึกษาของราชการ (3) หน้างบใบสำคัญค่าสอนพิเศษประกอบฎีกา (4) หลักฐานการเบิกจ่ายเงินค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษา (5) ใบเบิกเงินงบประมาณ & ใบเบิกเงินบำรุงการศึกษา 2.3 หนังสือส่วนที่ 3 (1) แบบใบเบิกค่าสอนพิเศษ(ฉบับเต็ม) (2) แบบใบเบิกค่าสอนพิเศษในสถานศึกษาของราชการ(ฉบับเต็ม) 3 ด้านเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 4 ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบคละจำนวน |
|
8. สมมุติฐาน | |
ได้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอนที่ใช้งานได้จริง |
|
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมการออกแบบฐานข้อมูลและการเขียนระบบโดยภาษา PHP ร่วมกับ MySQL 2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของโปรแกรมและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน 3 ) การสร้างและออกแบบ โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน 4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้ 5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 6 ) สอนการใช้งานโปรแกรมให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 7 ) นักศึกษาทดลองใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน |
|
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง |
|
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยมีรายละเอียด ดังแสดงในภาพที่ 1 ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม 2 ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3 กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม 4 ออกแบบและสร้างโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ดังแสดงในภาพที่ 2 ถึงภาพที่ 3 ภาพที่ 2 แผนผังการทำงานของโปรแกรม ภาพที่ 3 แผนภาพคอนเท็กซ์ : โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน 5 โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอนที่ทำเสร็จแล้ว 5.1 ภาพรวมของโปรแกรม ดังแสดงในภาพที่ 4 ถึงภาพที่ 10 ภาพที่ 4 แสดงหน้าหลักของโปรแกรม ภาพที่ 5 แสดงหน้าจัดตารางสอนชั้นเรียน ภาพที่ 6 แสดงหน้าจัดตารางสอนชั้นเรียน ภาพที่ 7 แสดงหน้าจัดตารางสอนชั้นเรียน ภาพที่ 8 แสดงหน้าตารางสอนชั้นเรียน ภาพที่ 9 แสดงหน้าตารางการใช้ห้อง ภาพที่ 10 แสดงหน้าตารางสอนส่วนบุคคล 5.2 การใช้งานโปรแกรม (1) คลิกที่เมนู ตารางสอนชั้นเรียน ดังแสดงในภาพที่ 11 ภาพที่ 11 คลิกที่เมนู ตารางสอนชั้นเรียน (2) จะแสดงหน้าช่องใส่ข้อมูล จะมีให้ใส่คือ ปีการศึกษา/ภารเรียน,แผนก,สาขา,ระดับชั้น,เลือกกลุ่ม และกดยืนยัน ดังแสดงในภาพที่ 12 ภาพที่ 12 แสดงหน้าช่องใส่ข้อมูลตารางสอนชั้นเรียน (3) พอกดยืนยันเสร็จจะมีช่องให้เราใส่ข้อมูลเพิ่มเติมคือ ช่องแรกให้เราเลือกวันที่จะใส่รายวิชาลงไป มีตั้งแต่ จันทร์-ศุกร์ และเลือกช่วงเวลาที่จะใช้เรียน จากนั้นช่องสองช่องสามจะเป็นให้ใส่รายวิชา นั่นคือ หากวันนั้นในช่วงเช้ามีเรียนแยกกลุ่มแต่เรียนในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มหนึ่งเรียนอีกวิชาและอีกกลุ่มเรียนอีกวิชา ให้เรากรอกข้อมูลรายวิชาช่องสองและช่องสามให้ครบ จะมีให้ใส่ วิชาที่เรียน,รหัสวิชา,เลือกว่าเป็นรายชิวาทฤษฎีหรือปฏิบัติ,ครูผู้สอน,ห้องเรียน สุดท้ายเลือกกลุ่มที่จะเรียนในรายวิชานั้น รายวิชาแรกจะอยู่ข้างบนและรายวิชาที่สองจะอยู่ด้านล่าง และช่องที่สี่ จะเป็นช่องคาบว่างคือถ้าในช่วงเวลานั้นๆเราไม่มีเรียนเป็นคาบว่างให้เราติ๊กที่ช่องว่าง ให้ใส่วันและเวลานั้นๆ จากนั้นกดยืนยัน ดังแสดงในภาพที่ 13 ภาพที่ 13 แสดงหน้าช่องใส่ข้อมูลตารางสอนชั้นเรียน (4) พอกดยืนยันเสร็จ ข้อมูลที่เราใส่จะลงมาอยู่ในตารางเป็นอันเสร็จสิ้น ดังแสดงในภาพที่ 14 ภาพที่ 14 ตารางแสดงผลตารางสอนชั้นเรียน 6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ตารางที่ 1 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตารางที่ 2 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 1 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 1/3 = 0.333 มีค่าน้อยกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ไม่ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรมผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการปรับปรุงโปรแกรม ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานด้านตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน 1. เพศ ชาย หญิง 2. อายุ ต่ำกว่า 15 ปี 16-20 ปี 20-25 ปี 26-30 ปี สูงกว่า 30 ปี 3. อาชีพของท่าน ไม่มีอาชีพ เกษตรกร ข้าราชการ นักเรียน/นักศึกษา อื่นๆ ระบุ.................................. ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอนซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานด้านตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้การโปรแกรม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด 5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด 4 หมายถึง ในระดับดี มาก 3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง 2 หมายถึง ในระดับดี น้อย 1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด ตารางที่ 3 แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอน ดังแสดงในภาพที่ 15 ภาพที่ 15 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน ภาพที่ 16 การใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ภาพที่ 17 การใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน |
|
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
แทน คะแนนเฉลี่ย แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนข้อมูล 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) S.D คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง N คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง |
|
10. ผลของการวิจัย | |
การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม จากตารางที่ 4 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคิดเป็น 100% ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ด้านการตรงตามความผู้ใช้งาน คือในแต่ละฟอร์มการทำงานของโปรแกรมตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะกับการใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ด้านการตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจน้อย ( = 1.93) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ความสามารถของโปรแกรมในส่วนการแสดงผลการจัดตารางสอน เป็นรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 2.50) และด้านการความสามารถของโปรแกรมส่วนการแสดงตารางส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 1.30) ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน คือโปรแกรมมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจน้อย ( = 2.18) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ความถูกต้องในการจัดตารางสอน เป็นรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 2.65) และด้านความถูกต้องในการแสดงตารางส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 1.45) ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน คือในส่วนของรูปร่าง ลักษณะโปรแกรมใช้งานได้ง่าย และข้อความที่ใช้ในการแสดงผลสามารถเข้าใจได้ง่าย ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจน้อย ( = 2.33) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด ขนาด สีตัวอักษรบนเว็บไซต์ เป็นรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 2.95) และด้านความสามารถของโปรแกรมในส่วนการแสดงตารางส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 1.40) ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน มีดังนี้ ตารางที่ 8 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน จากตารางที่ 8 ความพึงพอใจในการการใช้โปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย ( =2.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ( = 2.33) และด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( = 1.93) |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน พบว่าโปรแกรมบริหารจัดการตารางสอน สามารถใช้งานได้จริงแต่ยังมีข้อบกพร่องบางส่วน โดยจุดเด่นของโปรแกรมคือ โปรแกรมสามารถจัดตารางเรียนสำหรับ นักเรียน นักศึกษา และยังสามารถจัดพิมพ์ตารางเรียนออกมาได้ จุดด้อยของโปรแกรมคือ ในตารางการใช้ห้อง และ ตารางสวนส่วนบุคคลนั้น ไม่สามารถทำการแสดงผลคาบว่างได้อัตโนมัติ โดยจะต้องทำการใส่ค่าเพื่อกำหนดคาบว่างเองเป็นผลทำให้การใช้งานของทั้งสองตารางนี้มีความติดขัดในการออกตารางสอน |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 ควรศึกษาในด้านการจัดตารางสอนก่อนใช้งาน 1.2 ควรศึกษากลุ่มคำสั่งต่างๆโปรแกรมก่อนใช้งาน 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรเพิ่มการลบและการแก้ไขของแต่ละตารางให้มากกว่านี้ 2.2 โปรแกรมควรแสดงส่วนตารางการใช้ห้องและตารางส่วนบุคลคลให้ถูกต้อง |
|
13. บรรณานุกรม | |
เอกรินทร์ คำคูณ. ทฤษฎีระบบฐานข้อมูล. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://kruoong.blogspot.com/2011/12/blog-post.html ขวัญจิรา นวลทอง. ประวัติความเป็นมาของภาษา PHP. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://kuk14331.blogspot.com/2013/01/1.html ทวีรัตน์ นวลช่วย. ประวัติความเป็นมาภาษา Java script. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/ntaweera/javascript ทองแดง. ความหมายของ CSS. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/css/ นันทวัฒน์ ไชยรัตน์. ประวัติความเป็นมาของภาษา HTML. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://naey01713.wordpress.com |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
ชื่อ-สกุล นายทินภัทร บ่อคำ เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2539 ที่อยู่ปัจจุบัน 106/1 หมู่ 2 ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ รหัสนักศึกษา 5831280005 เบอร์โทร 064-7415484 อีเมล์ tinnapatbawkam@gmail.com ชื่อ-สกุล นายณัฐมงคล ไชยแว่น เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2540 ที่อยู่ปัจจุบัน 373 หมู่ 3 ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 54110 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ รหัสนักศึกษา 5831280013 เบอร์โทร 082-6179801 อีเมล์ chaiwaen.nat@gmail.com |
|
ลิงค์ Youtube vdo | |