บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ |
2. จัดทำโดย | |
1. นายศรัณย์ ฟั่นเฟือย | |
2. นายอนุสิทธิ์ จักรมา | |
3. | |
3. อีเมล์ | |
f_l_u_k_e_zzz@hotmail.com, kiss_aug007@hotmail.com | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ สำหรับการใช้ตรวจเช็คข้อมูลนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย โครงสร้างของแอพพลิเคชั่นเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของนักเรียนและอาจารย์แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยโครงสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ และสามารถให้นักศึกษาได้เข้าไปเช็คข้อมูล เช่น เช็คผลการเรียน เช็คเวลาเรียน เช็คกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1-2 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ![]() ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.36 |
|
5. บทนำ | |
ปัจจุบันการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตอย่างมาก เพราะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะปรับปรุงตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากได้รับการส่งเสริมให้มีระบบการเรียนรู้ที่ดี จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายอย่างต่อเนื่องและมีส่วนในการพัฒนาประเทศในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาท จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาทางด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรให้มีการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะการสร้างแอพพลิเคชั่นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเทคโนโลยีในสมัยใหม่ ซึ่งการสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถตรวจสอบ กิจกรรมต่างๆ เช่นกิจกรรมหน้าเสาธง คะแนนวิชาเรียน การส่งงาน การสอบในเว็บ และเป็นที่สะดวกแก่ผู้ปกครองสามารถติดตามนักศึกษาได้เมื่ออยู่บ้านหรือสถานที่อื่นๆ ดังนั้น ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดสร้างแอพพลิเคชั่นนี้ขึ้นมา เพื่อความสะดวกสบาย โดยใช้งานระบบออนไลน์ เพื่อลดเวลาตรวจเช็คจากเว็บโดยตรง และยังสามารถติดต่อกับครูที่ปรึกษาแต่ล่ะชั้นปีได้ มีข่าวสารกิจการต่างๆจากแผนกและวิทยาลัยผ่านทางโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้ |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
1) เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ |
|
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. ด้านเนื้อหา 1.1 การเขียนและออกแบบแอพพลิเคชั่น (1) ใช้ภาษาจาวาในการเขียน (2) ใช้โปรแกรม Android studio 2. ด้านขอบข่าย 2.1 ความสามารถของแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีคุณสมบัติดังนี้ สามารถตรวจเช็คผลการเรียน 2.1.1 สามารถตรวจเช็คการส่งงานและแบบฝึกหัดแต่ละรายวิชา 2.1.2 สามารถตรวจเช็คคะแนนสอบ 2.1.3 สามารถดูข่าวสารจากทางวิทยาลัยและแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ได้ 2.1.4 สามารถตรวจเช็คกิจกรรมต่างๆ (1) กิจกรรมหน้าเสาธง (2) กิจกรรมโฮมรูม (3) กิจกรรมกลาง (4) กิจกรรมชมรม (5) กระบวนการฝึกงาน 2.2 ด้านระยะเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 2.3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง |
|
8. สมมุติฐาน | |
แอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ตรวจสอบผลการเรียน เช็คกิจกรรมต่างๆ เช็คคะแนนสอบ การส่งงาน และคะแนนแบบฝึกหัดได้ |
|
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบแอพพลิเคชั่นโดยภาษา Java ร่วมกับ MySQL 2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของแอพพลิเคชั่นและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน 3 ) การสร้างและออกแบบ แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ 4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้ 5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 6 ) สอนการใช้งานแอพพลิเคชั่นให้กับที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 7 ) นักศึกษาทดลองใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ |
|
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง |
|
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้![]() ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินโครงการ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม 2 ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3 กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม 4 ออกแบบและสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ 4.1 แผนผังการทำงานของโปรแกรม ![]() ภาพที่ 2 แผนผังการทำงานของโปรแกรม 3.4.2 การทำงานของโปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ![]() ภาพที่ 3 การทำงานของโปรแกรม 5 แอปพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ที่สำเร็จแล้ว ซึ่งจะมี รูปแบบหน้าต่าง ดังนี้ 5.1 ภาพรวมของแอพพลิเคชั่น 5.1.1 หน้าหลักของแอพพลิเคชั่น ดังแสดงในภาพที่ 4 ![]() ภาพที่ 4 แสดงหน้าหลักของแอพลิเคชั่น 5.1.2 หน้ายินดีต้อนรับ ดังแสดงในภาพที่ 5 ![]() ภาพที่ 5 แสดงหน้ายินดีต้อนรับ 5.1.3 หน้าสำหรับนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 6 ![]() ภาพที่ 6 แสดงหน้าสำหรับนักศึกษา 5.1.4 หน้าเช็คคะแนนสอบตามรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 7 ![]() ภาพที่ 7 แสดงหน้าเช็คคะแนนสอบตามรายวิชา 5.1.5 หน้าเช็คงานที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 8 ![]() ภาพที่ 8 แสดงหน้าเช็คงานที่ส่งรายวิชา 5.1.5 หน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 9 ![]() ภาพที่ 9 แสดงหน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา 5.1.6 หน้าเช็คเวลาเรียนรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 10 ![]() ภาพที่ 10 แสดงหน้าเช็คเวลาเรียนรายวิชา 5.1.7 หน้าเช็คผลการเรียนรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 11 ![]() ภาพที่ 11 แสดงหน้าเช็คผลการเรียนรายวิชา 5.1.8 หน้าหน้ากิจกรรมนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 12 ![]() ภาพที่ 12 แสดงหน้ากิจกรรมนักศึกษา 5.1.9 หน้าผลกิจกรรมหน้าเสาธง ดังแสดงในภาพที่ 13 ![]() ภาพที่ 13 แสดงหน้าผลกิจกรรมหน้าเสาธง 5.1.10 หน้าผลกิจกรรมชมรม ดังแสดงในภาพที่ 14 ![]() ภาพที่ 14 แสดงหน้าผลกิจกรรมชมรม 5.1.11 หน้าผลผลกิจกรรมกลาง ดังแสดงในภาพที่ 15 ![]() ภาพที่ 15 แสดงหน้าผลกิจกรรมกลาง 5.1.12 หน้าผลกิจกรรมโฮมรูม ดังแสดงในภาพที่ 16 ![]() ภาพที่ 16 แสดงหน้าผลกิจกรรมโฮมรูม 5.1.13 หน้างานประชาสัมพันธ์ ดังแสดงในภาพที่ 17 ![]() ภาพที่ 17 แสดงหน้างานประชาสัมพันธ์ 5.2 การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ 5.2.1 แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์โดยการเริ่มใช้งานแอพพลิเคชั่นจะต้องเข้าแอพพลิเคชั่นก่อนโดยได้ออกแบบ Icon ดังแสดงในภาพที่ 18 ![]() ภาพที่ 18 Icon ของแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ 5.2.2 คลิกที่ช่อง User เพื่อใส่รหัสประจำตัวนักศึกษา และช่อง Password ใส่รหัส Password ของนักศึกษา จากนั้นกดที่ Login ดังแสดงในภาพที่ 19 ![]() ภาพที่ 19 การล็อคอินเข้าระบบ (Login) 5.2.3 เมื่อใส่รหัสผ่านหน้าล็อคอินมาเรียบร้อยแล้วหน้าต่อมาคือ หน้ายินดีต้อนรับ โดยจะมี 3 คอลัมน์ ให้เลือกดังแสดงในภาพที่ 20 ![]() ภาพที่ 20 แสดงหน้ายินดีต้อรับ (Welcome) (1) ผลของการคลิกที่ปุ่ม สำหรับนักศึกษา จะทำให้แสดงหน้าสำหรับนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 21 ![]() ![]() ภาพที่ 21 ผลของการคลิกที่ปุ่ม สำหรับนักศึกษา (1.1) ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คคะแนนสอบตามรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คคะแนนสอบตามรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 22 ![]() ![]() ภาพที่ 22 ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คคะแนนสอบตามรายวิชา (1.2) ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คงานที่ส่งรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คเช็คงานที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 23 ![]() ![]() ภาพที่ 23 ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คงานที่ส่งรายวิชา (1.3) ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 24 ![]() ![]() ภาพที่ 24 ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา (1.4) ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คแบบฝึกหัดที่ส่งรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คแบบฝึกหัดที่ส่งราย วิชาดังแสดงในภาพที่ 25 ![]() ![]() ภาพที่ 25 ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คเวลาเรียนรายวิชา (1.4) ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คผลการเรียนรายวิชา จะทำให้แสดงหน้าเช็คผลการเรียนรายวิชา ดังแสดงในภาพที่ 26 ![]() ![]() ภาพที่ 26 ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คผลการเรียนรายวิชา (2) ผลของการคลิกที่ปุ่ม กิจกรรมของนักศึกษา จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมของนักศึกษา ดังแสดงในภาพที่ 27 ![]() ![]() ภาพที่ 27 ผลของการคลิกที่ปุ่ม เช็คผลการเรียนรายวิชา (2.1) ผลของการคลิกที่ปุ่ม กิจกรรมหน้าเสาธง จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมหน้าเสาธง ดังแสดงในภาพที่ 28 ![]() ![]() ภาพที่ 28 ผลของการคลิกที่ปุ่ม กิจกรรมหน้าเสาธง (2.2) ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมชมรม จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมผลกิจกรรมชมรม ดังแสดงในภาพที่ 29 ![]() ![]() ภาพที่ 29 ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมชมรม (2.3) ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมกลาง จะทำให้แสดงหน้ากิจกรรมผลกิจกรรมกลาง ดังแสดงในภาพที่ 30 ![]() ![]() ภาพที่ 30 ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมกลาง (2.4) ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมโฮมรูม จะทำให้แสดงหน้าผลกิจกรรมโฮมรูม ดังแสดงในภาพที่ 31 ![]() ![]() ภาพที่ 31 ผลของการคลิกที่ปุ่ม ผลกิจกรรมโฮมรูม (3) ผลของการคลิกที่ปุ่ม ข่าวสารประชาสัมพันธ์ จะทำให้แสดงหน้าผลข่าวสารประชาสัมพันธ์ ดังแสดงในภาพที่ 32 ![]() ![]() ภาพที่ 32 ผลของการคลิกที่ปุ่ม ข่าวสารประชาสัมพันธ์ 6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ตารางที่ 1 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตารางที่ 2 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ระบบออนไลน์เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรมผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงโปรแกรมให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โปรดทำเครื่องหมาย ![]() ![]() 1. เพศ ![]() ![]() 2. อายุ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() 3. อาชีพของท่าน ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ![]() 5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด 4 หมายถึง ในระดับดี มาก 3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง 2 หมายถึง ในระดับดี น้อย 1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด ตารางที่ 3 แบบประเมินผลความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลบริหารจัดการห้องเรียน ![]() |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้![]() ภาพที่ 33 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน 1. การใช้โปรแกรม 1.1 การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง (ปวส.) จำนวน 2 คน ดังแสดงในภาพที่ 34 ถึงภาพที่ 35 ![]() ภาพที่ 34 การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ![]() ภาพที่ 35 การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ 1.2 การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 2 คน ดังแสดงในภาพที่ 36 ถึงภาพที่ 37 ![]() ภาพที่ 36 การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ![]() ภาพที่ 37 การใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ |
|
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
1) การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์ ![]() IOC คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency) ![]() N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 2) การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ ![]() ![]() ![]() N แทน จำนวนข้อมูล 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) S.D คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง N คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง |
|
10. ผลของการวิจัย | |
การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ![]() จากตารางที่ 4.1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 18 คน คิดเป็น 90% เพศหญิง 2 คน คิดเป็น 10% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคิดเป็น 100% ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการตรงตามความผู้ใช้งาน คือในแต่ละฟอร์มการทำงานของโปรแกรมตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะกับการใช้งานโปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ![]() จากตารางที่ 4.2 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก( ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ การทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน คือโปรแกรมมีความสะดวกในการใช้งานใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ![]() จากตารางที่ 4.3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้การใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้การใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน คือในส่วนของรูปร่าง ลักษณะโปรแกรมใช้งานได้ง่าย และข้อความที่ใช้ในการแสดงผลสามารถเข้าใจได้ง่าย ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน ![]() จากตารางที่ 4.4 พบว่า ความพึงพอใจในความพึงพอใจในการใช้การใช้แอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( ![]() ![]() ![]() ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ ตารางที่ 8 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน ![]() จากตารางที่ 4.5 ความพึงพอใจในการการใช้การใช้โปรแกรมแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ( ![]() ![]() ![]() |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ พบว่าแอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการตรวจเช็คข้อมูล และมีความสะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้ จุดเด่นของโปรแกรมคือโปรแกรมสามารถใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลนักศึกษาและข้อมูลข่าวสารได้ เป็นการสร้างแอพพลิเคชั่นแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์เพื่อความสะดวกกว่าการเข้าไปใช้งานของเว็บแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของโปรแกรมที่ได้ คือ ตัวอักษรควรเพิ่มให้ขนาดใหญ่ขึ้นและการจัดรูปแบบโครงสร้างให้ดีขึ้นในการตกแต่งควรตกแต่งให้สวยงาม โปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของแอพพลิเคชั่น ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1) ควรฟังคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่ให้ใช้แอพพลิเคชั่นแผนกคอมพิวเตอร์ 1.2) ควรศึกษาขั้นตอนการสร้างแอพพลิเคชั่นก่อน 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 2.1) ควรเพิ่มรายละเอียดความยากง่ายของแอพพลิเคชั่นในการเขียนโปรแกรม 2.2) ในการออกแบบโปรแกรมควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ |
|
13. บรรณานุกรม | |
กิตติชัย ปิ่นเลิศ. Application Android Development 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https:// pinlert.wordpress.com -android/ พงษ์พันธ์ ฐานหมั่น. JAVA programming. 2554 : [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://pongpun-art.blogspot.com/2011/03/java-intorducing-java.html ภรณ์ทิพย์ ยังกลาง. ระบบปฏิบัติการ Android. นครราชสีมา : [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/pornthipya/prawati-phu-cad-tha ศุภกิจ ทองดี. รู้จักกับแอนดรอยด์. : [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.sourcecode.in.th/articles.php?id=71 อรพิน ประวัติริสุทธิ์. เรียนรู้ภาษาจาวา. 2556. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://java-sample-thai.blogspot.com/ |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
![]() ชื่อ-สกุล นายศรัณย์ ฟั่นเฟือย เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2539 ที่อยู่ปัจจุบัน 6/4 ม.4 ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ 54000 วุฒิการศึกษา จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร 099-02629-7 อีเมล์ f_l_u_k_e_zzz@hotmail.com อาจารย์ที่ปรึกษา ว่าที่ร้อยตรี ธีรพงศ์ วงศ์ตวัน ![]() ชื่อ-สกุล นายอนุสิทธิ์ จักรมา เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ที่อยู่ปัจจุบัน 89 หมู่ 7 ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160 วุฒิการศึกษา จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ เบอร์โทร 0997453521 อีเมล์ kiss_aug007@hotmail.com อาจารย์ที่ปรึกษา ว่าที่ ร้อย ตรี ธีรพงศ์ วงศ์ตวัน |
|
ลิงค์ Youtube vdo | |