บทความโครงการ นักศึกษา | |||
1. ชื่อโครงการ | การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิดและจับคู่ | ||
2. จัดทำโดย | |||
1. นายจิรภัทร นุชิต | |||
2. นายอัคคเดช เม่นเงิน | |||
3. | |||
3. อีเมล์ | |||
jirapat.nuchit@gmail.com ,boss740596@gmail.com | |||
4. บทคัดย่อ | |||
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ เรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ สำหรับการใช้สอบนระบบออนไลน์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย โครงสร้างของเว็บไซต์ข้อสอบออนไลน์ เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของนักเรียนและอาจารย์แผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยโครงสร้างข้อสอบแบบอัตนัย ปรนัย จับคู่ และถูกผิด และสามารถให้อาจารย์แต่งข้อสอบและแก้ไขได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อสอบแบบอัตนัย แบบจับคู่ แบบถูกผิด เป็นต้น การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1-2 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ( x ̅ ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีการสอนให้นักเรียนใช้โปรแกรมข้อสอบระบบออนไลน์ บนเว็บของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ แล้วทำการทดลองใช้โปรแกรมข้อสอบระบบออนไลน์ ทดสอบด้วยตัวเอง เสร็จแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38 |
|||
5. บทนำ | |||
ปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตอย่างมากเพื่อการเรียนรู้ การจัดการศึกษาต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะปรับปรุงตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นความสำคัญของการทดสอบของผู้เรียนผู้ศึกษา จึงจัดทำและหาประสิทธิภาพระบบทดสอบออนไลน์ทำขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความสามารถในการศึกษาและวัดระดับของผู้ศึกษา จึงได้จัดทำแบบข้อสอบออนไลน์ ในรูปต่างๆ เช่น ปรนัย อัตนัย จับคู่ ถูกผิด เป็นต้น จากการได้รับประสบการณ์ในการฝึกงานและการเรียนเขียนโปรแกรมโปรแกรมจึงคิดทำโครงการเกี่ยวกับการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพข้อสอบออนไลน์ให้กับแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการทดสอบของนักเรียนนักศึกษาแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ทดดลองใช้และหาประสิทธิภาพของระบบทดสอบออนไลน์ จึงศึกษาหาความรู้และปรึกษาอาจารย์เกี่ยวกับการออกแบบและการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษา HTML, CSS, SQL, PHP, JAVA SCRIP โปรแกรมที่ใช้ Sublime Text 3 ในการเขียนโค้ดและคำสั่งต่างๆ สร้างแบบทดสอบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงการมีความต้องการที่จะพัฒนาสร้างและหาประสิทธิภาพของระบบทดสอบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Sublime Text 3 ในการเขียนโค้ดและคำสั่งต่างๆ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม และใช้ภาษา HTML, CSS, SQL, PHP, JAVA SCRIP ในการเขียนระบบทดสอบออนไลน์และมีความสามารถในการจัดการหลากหลาย เพื่อจัดการพัฒนาสร้างและหาประสิทธิภาพของระบบทดสอบออนไลน์และจัดสรรสร้างแบบทดสอบออนไลน์ เช่น ปรนัย อัตนัย จับคู่ ถูกผิด เป็นต้น ทำให้แบบทดสอบออนไลน์สามารถใช้งานได้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|||
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |||
1) เพื่อสร้างโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ |
|||
7. ขอบเขตของการวิจัย | |||
การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ 1. ด้านขอบข่ายมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ใช้โปรแกรม Sublime Text 3 ในการเขียนโค้ดและคำสั่งต่างๆ 2) ใช้ภาษา HTML, CSS, SQL, PHP, JAVA SCRIP 2. ด้านเนื้อหา 1. โปรแกรมที่สร้างขึ้นสามารถทดลองใน web browser 2. ระบบของการเข้าใช้งาน 1) สามารถสมัครสมาชิกของผู้สร้างแบบทดสอบและผู้ทำแบบทดสอบ 2) สามารถล็อกอินเข้าใช้งานของผู้สร้างแบบทดสอบและผู้ทำแบบทดสอบ 3. ข้อมูลของการทดสอบ 1) สามารถสร้างแบบทดตอบได้ 2) สามารถใส่ข้อมูลแบบทดสอบได้และสามารถทำแบบทดสอบออนไลน์ 4. รูปแบบขอข้อสอบ 1) ปรนัย 2) อัตนัย 3) จับคู่ 4) ถูกผิด |
|||
8. สมมุติฐาน | |||
โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ สามารถใช้ในการสอบได้ |
|||
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |||
1 ) ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมการโครงการ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ 2 ) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวการทำงานของระบบและกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน 3 ) ออกแบบและการสร้างโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ 4 ) ทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย มีการใช้แบบประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ทดลองใช้ 5 ) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ชั้นปีที่ 1-2 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 18 คน และอาจารย์ 2 ท่าน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 6 ) สอนการใช้งานโปรแกรมให้กับกลุ่มตัวอย่าง 7 ) อาจารย์และนักศึกษาทดลองใช้งานระบบโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ |
|||
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |||
นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง | |||
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |||
การสร้างและหารประสิทธิภาพโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิดและจับคู่ มีขั้นตอนในการออกแบบโดยละเอียด ดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม 2. ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3. กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม 4. ออกแบบและสร้างโปรแกรมทำข้อสอบ ระบบออนไลน์ ภาพที่ 2 แผนผังการทำงานของโปรแกรม ภาพที่ 3 การทำงานของโปรแกรม 5 โปรแกรมโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ 1) ภาพรวมของโปรแกรม ภาพที่ 4 หน้าการสร้างข้อสอบ ภาพที่ 5 หน้าโครงสร้างการทำข้อสอบอัตนัย ภาพที่ 6 หน้าโครงสร้างเพิ่มข้อสอบปฏิบัติ ภาพที่ 7 หน้าโครงสร้างเพิ่มคะแนนข้อสอบปฏิบัติ 6. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพ แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ตารางที่ 1 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตารางที่ 2 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 2 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 16 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ระบบออนไลน์เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่มีต่อโปรแกรมผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงโปรแกรมให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน 1. เพศ ชาย หญิง 2. อายุ ต่ำกว่า 15 ปี 16-20 ปี 20-25 ปี 26-30 ปี สูงกว่า 30 ปี 3. อาชีพของท่าน ไม่มีอาชีพ เกษตรกร ข้าราชการ นักเรียน/นักศึกษา อื่นๆ ระบุ.................................. ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และ จับคู่ ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด 5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด 4 หมายถึง ในระดับดี มาก 3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง 2 หมายถึง ในระดับดี น้อย 1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด ตารางที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ข้อเสนอแนะ..................................................................................................................... |
|||
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |||
โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปี่ที่ 1-2 สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
ภาพที่ 9 นักเรียนทดสอบใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ ภาพที่ 10 อาจารย์ทดลองใช้งานโปรแรกมทำข้อสอบออนไลน์ |
|||
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |||
1) การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์ IOC คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency) คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 2) การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ แทน คะแนนเฉลี่ย แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนข้อมูล 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) S.D คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง N คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง |
|||
10. ผลของการวิจัย | |||
การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความ ต้องการของผู้ใช้ ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตาม ฟังก์ชันการทำงาน ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความ ง่ายยากต่อการใช้งาน ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูล X แทน ค่าเฉลี่ย S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน P แทน ค่าร้อยละ
จากตารางที่ 4 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 18 คน คิดเป็น 90% เพศหญิง 2 คน คิดเป็น 10% และอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคิดเป็น 100% ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ด้านการตรงตามความผู้ใช้งาน คือในแต่ละฟอร์มการทำงานของโปรแกรมตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะกับการใช้งานโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ด้านการตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( X = 4.34) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจในความสามารถของโปรแกรมส่วนการแสดงของเนื้อหาโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.45) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( X= 4.30) ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน คือโปรแกรมมีความสะดวกในการใช้งานใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน จากตารางที่ 6 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้การใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( X = 4.47) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจในความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากกาการใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ส่วนใส่ข้อความและรูปภาพของข้อสอบ การประมวลผลของคำตอบ เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.55) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( X = 4.35) ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้การใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน คือในส่วนของรูปร่าง ลักษณะโปรแกรมใช้งานได้ง่าย และข้อความที่ใช้ในการแสดงผลสามารถเข้าใจได้ง่าย ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน จากตารางที่ 7 พบว่า ความพึงพอใจในความพึงพอใจในการใช้การใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ ด้านรูปลักษณ์และความง่ายยากต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( X = 4.34) และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเมิน พบว่า ทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยความพึงพอใจในความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย เป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( X = 4.45) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ ( X= 4.25) ตอนทที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้การใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ มีดังนี้ ตารางที่ 8 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมในภาพรวมทุกด้าน จากตารางที่ 8 ความพึงพอใจในการการใช้การใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ( X=4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ( X= 4.47) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( X = 4.34) |
|||
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |||
จากผลการสร้างและหาประสิทธิภาพโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ พบว่าโปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ แบบอัตนัย ถูกผิด และจับคู่ สามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการสอบออนไลน์ ในรูปแบบของข้อทฤษฎีและปฏิบัติ มีโครงสร้างข้อสอบให้เลือกหลายรูปแบบ จุดเด่นของโปรแกรมคือโปรแกรมสามารถใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ในการสอบแบบออนไลน์ได้เป็นการสอบสมัยใหม่ที่ใช้ในการสอบของแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ จุดด้อยของโปรแกรมจากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากผลการใช้งานทำให้สรุปข้อด้อยของโปรแกรมที่ได้ คือ ตัวอักษรควรเพิ่มให้ขนานใหญ่ขึ้นและมีโครงสร้างหลายอย่าง นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของโปรแกรมยังมีในด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านรูปลักษณ์และความง่ายต่อการใช้งานทั้งหมดอยู่ในระดับมากเพราะโปรแกรมสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้วิเคราะห์และออกแบบระบบของโปรแกรม ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก |
|||
12. ข้อเสนอแนะ | |||
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1) ควรฟังคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่ให้ใช้โปรแกรมทำข้อสอบออนไลน์ ใช้ในการสอบ 2) ควรศึกษาเมนูต่างๆก่อนที่จะทำการสร้างข้อสอบ 2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรเพิ่มอำนาจการจำแนกความยากง่ายของข้อสอบและศึกษาการเขียนโปรแกรม 2) ในการออกแบบโปรแกรมควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ |
|||
13. บรรณานุกรม | |||
พเยาว์ เนตรประชา. การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา. 2559. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.ipesp.ac.th บุญชม ศรีสะอาด. การวิเคราะห์ข้อสอบ พัฒนาวัดผล. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. การทดสอบแบบอิงเกณฑ์. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์ วิกิพีเดีย. เรื่องทฤษฎี เกี่ยวกับภาษาต่างๆในการเขียนโปรแกรม.2559 [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา . การวัดผลประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด |
|||
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |||
ชื่อ-สกุล นายจิรภัทร นุชิต เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2537 ที่อยู่ปัจจุบัน 52/2 ม.6 ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ รหัสนักศึกษา 5831280008 เบอร์โทร 084-9594304 อีเมล์ jirapat.nuchit@gmail.com อาจารย์ที่ปรึกษา ว่าที่ ร้อย ตรี ธีรพงศ์ วงศ์ตวัน ชื่อ-สกุล นายอัคคเดช เม่นเงิน เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539 ที่อยู่ปัจจุบัน 41 ม.10 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 54110 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ รหัสนักศึกษา 5831280014 เบอร์โทร 095-8340215 อีเมล์ boss740596@gmail.com อาจารย์ที่ปรึกษา ว่าที่ ร้อย ตรี ธีรพงศ์ วงศ์ตวัน |
|||
ลิงค์ Youtube vdo | |||