บทความโครงการ นักศึกษา | |||
1. ชื่อโครงการ | การออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ | ||
2. จัดทำโดย | |||
1. | |||
2. | |||
3. | |||
3. อีเมล์ | |||
commrtot@hotmail.com,nattaponghot@hotmail.com,CREAM-888@hotmail.com | |||
4. บทคัดย่อ | |||
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับใช้ในการอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน 20 คน โดยให้ทดลองใช้แอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้น เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชั่น ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.54 |
|||
5. บทนำ | |||
ในสังคมปัจจุบันการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนนั้นได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เนื่องด้วยความสะดวกในการใช้งานที่เกือบเทียบได้กับคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องแล้วยังมีความสะดวกสบายในการพกพาเพราะมีขนาดเล็กพอดีมือถึงแม้ว่าถ้าหากนำไปเทียบกับคอมพิวเตอร์ Laptop ที่สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้เหมือนกันแล้วประสิทธิ์อาจจะต่ำกว่าอยู่เล็กน้อยแต่อีกไม่นานในอนาคตอันใกล้การพัฒนาทางเทคโนโลยีอาจจะทำให้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนมีประสิทธิ์ภาพเทียบเท่าหรือเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ Laptop ไปเลยก็ได้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำพาให้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนนั้นมีประสิทธิ์ภาพการใช้งานได้ดีมากขึ้นนั่นก็คือโปรแกรมเสริมที่สนับสนุนและช่วยเหลือการใช้งานของระบบหรือที่เรียกกันว่า Application นั่นเองโดย Application ที่นำเสนอมาวันนี้คือ Application อ่านภาพ 3 มิติที่ระบบจะทำการแยกสีบนภาพที่กล้องจับได้และแสดงเป็นภาพ 3 มิติออกมาหรือที่เรียกกันว่า AR Code นั่นเอง AR Code มีรูปแบบคล้ายๆกับ QR Code ที่ทุกคนรู้จักกันดีต่างเพียงแค่ว่า AR Code นั้นจะใช้การแยกองค์ประกอบของสีในภาพนั้นๆเป็นตัวนำในการแสดงภาพ 3 มิติออกมาซึ่งจะแตกต่างจาก QR Code ที่ต้องใช้โค้ดเฉพาะในการแสดงภาพออกมาแทน อย่างที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นว่า AR Code นั้นมีความสะดวกกว่าในเชิงการใช้งานจริงเพราะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้โค้ดเฉพาะทางแต่สามารถจับภาพต่างๆที่กล้องสามารถถ่ายได้มาแปลงเป็นโค้ดก็สามารถแสดงภาพ 3 มิติออกมาได้ยกตัวอย่างเช่นรูปภาพบนเว็บไซต์ หรือสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นทางผู้เสนอโครงการจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนั้นและคิดว่าสามารถที่จะนำมาใช้งานที่เป็นประโยชน์จริงๆได้จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นภาพใต้ชื่อ “แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์”โดยมุ่งหวังนำมาเพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1 เพื่อสร้าง Application สำหรับอ่านรหัสภาพด้วย AR Code 2 เพื่อหาประสิทธิภาพของ Application ที่สามารถทำงานบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้ |
|||
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |||
7. ขอบเขตของการวิจัย | |||
การสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้ 7.1 กำหนดรหัสค่าสี AR Code บนภาพหรือสื่อที่ใช้ประกอบในชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1) กำหนดภาพอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2) กำหนดภาพสื่อ QR Code 3) กำหนดภาพสื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 7.2 การทำงานของแอปพลิเคชั่น 1) สามารถแสดงภาพ 3 มิติรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ 2) สามารถแสดงสื่อวีดีโอที่อยู่ในรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ 7.3 จัดทำชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1) แสดงส่วนประกอบพื้นฐานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ 2) ติดตั้งรหัสภาพสำหรับใช้เป็นสื่อการสอนด้วยรหัสภาพ AR Code |
|||
8. สมมุติฐาน | |||
แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สามารถอ่านภาพ 3 มิติหรือสื่อต่างๆบนภาพหรืออุปกรณ์ที่กำหนดเอาไว้ได้จริงและสามารถอัพโหลดลงโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้งานได้ | |||
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |||
1) วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม 2) ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3) กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม 4) ออกแบบและเขียนแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ |
|||
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |||
ในการออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชั่น โดยนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 20 คน | |||
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |||
การออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนในการออกแบบ โดยละเอียด ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1 ลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน 9.2.1 เขียนแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หลักจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานภาษา JAVA ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการเขียนแอนดรอยแอพพลิเคชั่น ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนแอพพลิเคชั่นตามที่ได้ออกแบบไว้ 1) ขั้นตอนการออกแบบแอพพลิเคชั่น ต้องเริ่มจากการศึกษาภาษา JAVA ให้ละเอียดและการใช้งานโปรแกรม Android SDK ที่ถูกต้อง ภาพที่ 2 ขั้นตอนการศึกษาข้อมูล 2) ทดลองสร้างแบบจำลองแอพพลิเคชั่น ภาพที่ 3 ขั้นตอนการสร้างแบบจำลอง 3) สร้างแอพพลิเคชั่นตามแบบที่ได้วางไว้ด้วย Android SDK ภาพที่ 4 ขั้นตอนการสร้างแอพพลิเคชั่น 4) ทดลองรันแอพพลิเคชั่นผ่านแบบจำลองที่สร้างเอาไว้ ภาพที่ 5 ทดลองรันแอพพลิเคชั่น 5) แอปพลิเคชั่นที่เสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 6 หน้าตาแอปพลิเคชั่น 9.2.2) สร้างชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1) ขึ้นโครงอุปกรณ์ชุดฝึก ภาพที่ 7 การขึ้นโครงชุดฝึก ภาพที่ 8 การขึ้นโครงชุดฝึก 2 2) ตกแต่งตัวกล่องด้วยการปูผ้าสักราด ภาพที่ 9 ปูผ้าสักราด 3) ติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ากับชุดฝึก ภาพที่ 10 ติดตั้งอุปกรณ์ 4) ชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สมบูรณ์ ภาพที่ 11 เสร็จสมบูรณ์ 9.2.3) ออกแบบสอบถาม ในการออกแบบและสร้างแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชั่น โดยนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 20 คน เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ ภาพที่ 12 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม ตารางที่ ข.1 แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตารางที่ ข.2 การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 16 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 17 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 18 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 19 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 20 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ _________________________________________________________________________ แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชั่น ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งาน แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชั่น ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอปพลิเคชั่น ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ |
|||
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |||
1) ให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างทดลองใช้งานแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในอาคารแผนกเทคนิคคอมพิวเตอร์ 2) มีการแจ้งปัญหาเกี่ยวกับแสดงสะท้อนให้ไปปรับปรุง ระดับความพอใจของผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด การทดสอบใช้งานโปรแกรม ภาพที่ 13 การทดลองใช้งาน ภาพที่ 14 การทดลองใช้งาน 2 |
|||
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |||
|
|||
10. ผลของการวิจัย | |||
การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบและศึกษาการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการทำงาน ได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านความง่ายต่อ การใช้งานโปรแกรม ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นในภาพรวมทุก ด้าน 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม จากตารางที่ 1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 18 คน เพศหญิง 2 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่ 16-20 ปี คิดเป็น 85% ประสบการณ์ใช้งานโปรแกรม คิดเป็น 100% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม คือ ในแต่ละฟอร์มการทำงานแอปพลิเคชั่นตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เหมาะสมกับการใช้งาน ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้โปรแกรม จากตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความสามารถของโปรแกรม ส่วนการเข้าสู่ระบบ และส่วนตัวเลือกใช้งานเป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 5.00) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 4.55) 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอพพลิเคชั่นด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน คือแอปพลิเคชั่นมีความสะดวกในการใช้งาน ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชัน การทำงาน จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความถูกต้องในการแสดงรหัสภาพ, ความรวดเร็วในการแสดงรหัสภาพ, ความสะดวกในการใช้คำสั่งต่างๆ และความน่าเชื่อถือได้ของแอพพลิเคชั่นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.80) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 3.95) 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอพพลิเคชั่นด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ตารางแสดงระดับความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น คือ ในส่วนของรูปร่าง ลักษณะแอพพลิเคชั่นใช้งานได้ง่าย และภาษาที่ใช้ในการอธิบายสามารถเข้าใจได้ง่าย ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้โปรแกรมด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม จากตารางที่ 4 พบว่า ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นด้านความง่ายต่อการใช้งาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย, การใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย และคำศัพท์ที่ใช้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่ายอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.80) และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด ( = 4.10) 5) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้แอปพลิเคชั่นในภาพรวมทุกด้าน สรุปภาพรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น มีดังนี้ ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมลประเมินผลการใช้แอพพลิเคชั่นในภาพรวมทุกด้าน จากตารางที่ 5 ความพึงพอใจในการแอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ( =4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความง่ายต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.83 |
|||
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |||
จากการออกแบบและศึกษาการใช้แอปพลิเคชั่นอ่านรหัสภาพ AR Code บนชุดฝึกสอนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พบว่า มีความสะดวกในการใช้งาน ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว มีความรวดเร็วในการแสดงผล ในด้านรูปร่างลักษณะของแอปพลิเคชั่น ข้อความที่ใช้อธิบายมีความเข้าใจง่าย ซึ่งแอปพลิเคชั่นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ได้ตั้งไว้แม้ว่าจะมีปัญหาที่แสงสะท้อนเล็กน้อยก็ตาม หลังจากการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีรายละเอียดดังนี้ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจความสามารถของแอปพลิเคชั่น ส่วนการเข้าสู่ระบบ และตัวเลือกใช้งาน ซึ่งมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชั่นมากที่สุด รองลงมาคือ ความสามารถของแอปพลิเคชั่น ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจในความสะดวกในการใช้คำสั่งต่างๆ ในส่วนของเมนู และความรวดเร็วในการแสดงผลของแอปพลิเคชั่น มากที่สุดด้วย รองลงมาคือ ความถูกต้องในการแสดงรหัสภาพ ความรวดเร็วในการแสดงรหัสภาพ ความน่าเชื่อถือได้ของแอปพลิเคชั่น ความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในแอปพลิเคชั่น และความครอบคลุมของแอปพลิเคชั่นที่พัฒนากับการใช้งานจริง ตามลำดับ ด้านความง่ายต่อการใช้งานแอปพลิเคชั่น ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจ ความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการใช้แอปพลิเคชั่นได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก รองลงมาคือ คำศัพท์ที่ใช้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย ความเหมาะสมในการวางตำแหน่งของส่วนประกอบบนจอภาพ ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด ขนาด สีตัวอักษรบนจอภาพ และความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ ตามลำดับ โดยภาพรวมทุกด้านผู้ใช้งานมีความพึงพอใจโดยภาพรวมที่สูง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก มีความพึงพอใจในด้านความง่ายต่อการใช้งานแอปพลิเคชั่นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน และด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้แอปพลิเคชั่น ตามลำดับ |
|||
12. ข้อเสนอแนะ | |||
12.1 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1) ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำที่มีในคู่มือการใช้งาน 2) ควรใช้งานแอปพลิเคชั่นในขณะที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ทุกครั้ง 3) ควรใช้ในพื้นที่ที่มีแสดงสว่างเพียงพอ 12.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรพัฒนาแอปพลิเคชั่นนี้ให้สามารถเก็บไฟล์ใน Server ของตัวเอง 2) ควรพัฒนาให้ตัวอักษรในแอปพลิเคชั่นมีขนาดใหญ่ขึ้น |
|||
13. บรรณานุกรม | |||
ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. คู่มือพัฒนาแอปพลิเคชั่น Android ผู้เริ่มต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด. นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. QR Code หลบไป AR มาแล้ว!!. (ออนไลน์) สืบค้นวันที่ 3 ธันวาคม 2558. จาก : http://www.positioningmag.com/content |
|||
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |||
ชื่อ-สกุล นายเทวฤทธิ์ สันป่าแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2538 ที่อยู่ปัจจุบัน 35 หมู่ 3 ต.แม่ยางร้อง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร 086-1164872 อีเมล์ commrtot@hotmail.co.th ชื่อ-สกุล นาย ณัฐพงศ์ ศรีจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2538 ที่อยู่ปัจจุบัน 143 หมู่.1ต.บ้านกวาง อ.สูงเม่น จ.แพร่ 54130 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร 095-7253851 อีเมล์ nattaponghot@hotmail.com ชื่อ-สกุล นางสาวชุติกาญจน์ จำรัส เกิดเมื่อวันที่ 25กรกฎาคม 2538 ที่อยู่ปัจจุบัน 157หมู่7ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่54130 วุฒิการศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร 082-7972072 อีเมล์ CREAM-888@hotmail.com |
|||
ลิงค์ Youtube vdo | |||