บทความโครงการ นักศึกษา | |
1. ชื่อโครงการ | การสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ |
2. จัดทำโดย | |
1. | |
2. | |
3. | |
3. อีเมล์ | |
mondoik009@hotmail.com , thanapon234@gmail.com | |
4. บทคัดย่อ | |
โครงการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์สำหรับใช้ในการลงขายสินค้ามือสองหรือลงสินค้าได้หลากหลายและศึกษาการใช้งานซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์กซึ่งเป็นระบบโครงสร้างของเว็บไซต์ การดำเนินการโครงการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ จำนวน 20 คน โดยให้ทดลองใช้เว็บไซต์ที่สร้างขึ้น เสร็จแล้วให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ที่สร้างขึ้น ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.10 |
|
5. บทนำ | |
ในสภาวะของโลกปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านการศึกษา และทางด้านเทคโนโลยี ทำให้มีผู้คิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก และหนึ่งในนั้นคือโปรแกรมสำเร็จรูป ที่สามารถช่วยย่นระยะเวลาในการทำงานลง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีความแม่นยำสูงตามความต้องการของผู้ใช้งาน อีกประการหนึ่งถึงแม้ว่าปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้มีการผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปมาขาย แต่ก็มีข้อจำกัดของซอฟต์แวร์เหล่านั้น เช่น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ซอฟแวร์ไม่เหมาะกับหน่วยงานนั้นๆ โดยเฉพาะความลับของหน่วยงานอาจจะถูกเปิดเผยได้ ในปัจจุบันธุรกิจได้พัฒนามาอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้การติดต่อซื้อขายสามารถทำได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องมีการตั้งร้านค้าจริงๆขึ้นมา จึงทำให้เป็นแหล่งการค้าขายเสมือนจริงที่ทุกคนสามารถเข้าไปดำเนินธุรกิจการค้าไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการขายสินค้าออนไลน์และสามารถติดต่อซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตตลอดจนการชำระเงินผ่านเครือข่ายด้วยการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต จึงก่อให้เกิดเป็นการค้าขายในระบบเครือข่ายที่สามารถติดต่อค้าขายกันแบบไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยจะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ทั่วโลก ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเพื่อเลือกซื้อสินค้าได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้พื้นที่แสดงสินค้าและพนักงานขายและยังสามารถให้ข้อมูลสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ ดังนั้น จึงได้มีการเสนอโครงงานเรื่อง“การสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์” โดยจะมีความแตกต่างจากเว็บฝากขายสินค้าทั่วไปคือ เมื่อผู้ใช้งานสมัครสมาชิก จะได้ ผู้ใช้หรือสมัครชิกสามารถฝากขายสินค้าได้ตามต้องการได้ 6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อออกแบบและสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ |
|
6. วัตถุประสงค์ของการวิจัย | |
7. ขอบเขตของการวิจัย | |
การสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ด้านความสามารถของเว็บไซต์การสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.1 เว็บไซต์สามารถบันทึกข้อมูลสมาชิกได้ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลสมาชิกมีดังนี้ - ชื่อสมาชิก - อีเมล์ 1.2 เว็บไซต์สามารถลงขายสินค้าได้ รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการลงขายสินค้ามีดังนี้ - ชื่อสินค้า - หมวดหมู่สินค้า - ราคา - รูปภาพสินค้า - รายละเอียดสินค้า - หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ - อีเมล์ติดต่อ - ช่องทางการติดต่ออื่นๆ 1.3 เว็บไซต์สามารถค้นหาหัวข้อการฝากขายสินค้าของผู้ใช้งานได้ 1.4 เว็บไซต์สามารถสรุปจำนวนครั้งที่เข้ามาเยี่ยมชมสินค้าที่ลงขายได้ 2) ด้านทรัพยากร ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ 2.1 โปรแกรมที่ใช้พัฒนา Dreamweaver 2.2 ระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อ XAMPP 2.3 ระบบเว็บเฟรมเวิร์กSMF 3) ด้านระยะเวลา ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 4) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง |
|
8. สมมุติฐาน | |
เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
9. วิธีดำเนินการวิจัย | |
1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้าออนไลน์เพื่อเตรียมข้อมูลในการจัดทำโครงการโดยคณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลการสร้างเว็บไซต์โดยใช้ระบบเฟรมเวิร์ก และได้ทดลองติดตั้งระบบเฟรมเวิร์กมาหลากหลายรุ่น และได้ศึกษาการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างเว็บจากต้นฉบับเพื่อนำมาใช้กับโครงการ 2) ศึกษาระบบฐานข้อมูล phpmyadmin และวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์และกำหนดขอบเขตเพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์ 3) ติดตั้งเฟรมเวิร์กSMF และปรับปรุงโครงสร้างให้เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้ ภาพที่1 การติดตั้งเฟรมเวิร์กSMF ภาพที่2 การปรับปรุงโครงสร้างให้เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้ 4) ทดสอบหาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์โดยและหาจุดบกพร่องของเว็บไซต์ ภาพที่3 ทดสอบหาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ 5) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขางาน คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา จำนวน 20 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ภาพที่4 การทดสอบการใช้งานเว็บไซต์ 6) สอนการใช้งานเว็บไซต์ให้กับเป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อสะดวกในการใช้เว็บไซต์มากยิ่งขึ้น 7) นักศึกษาทดลองใช้เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ |
|
9.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง | |
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา มีจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง | |
9.2 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ | |
การสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์มีขั้นตอนในการออกแบบโดยละเอียดดังต่อไปนี้ ภาพที่ 5 ลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาหรือประเมินความต้องการของผู้ใช้นวัตกรรม 2) ศึกษาทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง 3) กำหนดขอบเขตของโปรแกรม ทรัพยากร และฐานข้อมูลที่ใช้เขียนโปรแกรม 4) สร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ ภาพที่ 6 แผนผังการทำงานของเว็บไซต์ ภาพที่7 การทำงานของระบบเว็บไซต์ ส่วนของการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ เพื่อไม่ให้ดูยุ่งยากเกินไป ข้อมูลผู้ใช้บริการจะเก็บเฉพาะสิ่งที่จำเป็น เช่น - ชื่อผู้ใช้งาน - รหัสผ่าน - อีเมล์ โดยข้อมูลผู้ใช้บริการนี้จะต้องสามารถเพิ่ม ลบ และแก้ไขได้ ลักษณะดังนี้ ภาพที่8 การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว ส่วนของการลงขายสินค้า ข้อมูลการลงขายสินค้าจะประกอบไปด้วย - ชื่อสินค้า - รายละเอียดสินค้า - รูปภาพตัวอย่างสินค้า โดยเมนูการลงขายสินค้าโดยสมาชิกสามารถใส่รายละเอียดได้ตามความต้องการ ภาพที่9 การลงขายสินค้า โดยข้อมูลสินค้าที่โพสขายสินค้าแล้วจะสามารถเพิ่ม ลบ และแก้ไขรายละเอียดสินค้าได้ มีลักษณะดังนี้ ภาพที่10 ลักษณะการลงขายสินค้า ส่วนของประเภทและหมวดหมู่สินค้า ข้อมูลประเภทและหมวดหมู่สินค้าจะประกอบไปด้วยประเภทของสินค้าที่แยกตามหมวดหมู่โดยสามารถ เลือกหมวดหมู่สินค้าได้ตามลักษณะดังนี้ ภาพที่11 หมวดหมู่สินค้า แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ _________________________________________________________________________ แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อเว็บไซต์ ผลการประเมินของท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับปรุงเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ให้มีความสมบูรณ์และดียิ่งขึ้นไป คำชี้แจง แบบประเมินแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ มีทั้งหมด 3 ด้านดังนี้ ตอนที่ 3 เป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์ ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามเมนูการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความสะดวกต่อการใช้เว็บไซต์ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม โปรดทำเครื่องหมาย ü ลงใน £ ที่อยู่หน้าข้อความที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน 1. เพศ £ ชาย £ หญิง 2. อายุ £ ต่ำกว่า 15 ปี £ 16-20 ปี £ 20-25 ปี £ 26-30 ปี £ สูงกว่า 30 ปี 3. อาชีพของท่าน £ ไม่มีอาชีพ £ เกษตรกร £ข้าราชการ £ นักเรียน/นักศึกษา £ อื่นๆ ระบุ.................................. ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินความพึงพอใจ ในการใช้เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ซึ่งจะประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ด้านที่ 2 ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ด้านที่ 3 ด้านความง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ü ลงในช่องที่ตรงกับความจริงมากที่สุด 5 หมายถึง ในระดับดี มากที่สุด 4 หมายถึง ในระดับดี มาก 3 หมายถึง ในระดับดี ปานกลาง 2 หมายถึง ในระดับดี น้อย 1 หมายถึง ในระดับดี น้อยที่สุด แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม นำแบบสอบถามไปหาค่าความสอดคล้องของข้อคำถาม โดยใช้แบบฟอร์มการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม การวิเคราะห์เลือกคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ผลหาค่าความสอดคล้องของข้อคำถามโดยเลือกคำถามจากผลการวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญดังนี้ แสดงการคิดคำนวณค่า IOC ข้อ 1 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 2 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 3 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 4 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 5 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 6 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 7 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 8 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 9 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 10 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 11 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 12 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 13 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 14 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 2 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 2/3 = 0.667 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 15 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 16 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 17 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ ข้อ 18 ผลรวมของคะแนนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3 จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่า IOC เท่ากับ 3/3 = 1 มีค่ามากกว่า 0.5 ถือว่าคำถามข้อนี้ใช้ได้ |
|
9.3 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล | |
โครงการครั้งนี้ เลือกนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สสาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ สาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เพื่อหาคำตอบของโครงการครั้งนี้โดยกำหนดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ ภาพที่12 ผังแสดงกระบวนการวิเคราะห์ออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมิน ภาพที่ 13 การใช้งานเว็บไซต์จากกลุ่มตัวอย่าง ภาพที่ 14 การใช้งานเว็บไซต์จากกลุ่มตัวอย่าง |
|
9.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | |
1) การวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิณ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินและวัตถุประสงค์ IOC คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Congruency) คือ ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 2) การวิเคราะห์หาคุณภาพชุดการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ แทน คะแนนเฉลี่ย แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนข้อมูล 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) S.D คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง คือ ผลของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง N คือ จำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง |
|
10. ผลของการวิจัย | |
การวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์มีการวิเคราะห์โดยแยกเป็นตอนตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอรวม 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์ ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านการใช้งานได้ตามฟังก์ชันการทำงาน ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านความง่ายต่อการลงขายสินค้า ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ในภาพรวมทุกด้าน 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม จากตารางที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 20 คน เป็นเพศชาย 20 คน คิดเป็น 100% และอายุส่วนใหญ่อยู่ที่เกณฑ์ 16-20 ปี คิดเป็น 100% ประสบการณ์ใช้งานเว็บไซต์คิดเป็น 100% 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์ ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซ จากตารางที่2 ความพึงพอใจในเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ ที่สร้างขึ้นด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความสามารถของเว็บไซต์ส่วนการเข้าสู่ระบบ และส่วนสมัครสมาชิกของผู้ใช้บริการเป็นรายการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านการทำงานได้ตามเมนูการทำงาน ตารางที่3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านการทำงานได้ตามเมนูการทำงาน จากตารางที่3 ความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ที่สร้างขึ้นด้านการทำงานได้ตามเมนูการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความสะดวกในการใช้คำสั่งต่างๆ ในส่วนของเมนู, ความครอบคลุมการใช้งานของเว็บไซต์ที่สร้างกับการใช้งานจริง, ความถูกต้องในการเพิ่มและลบข้อมูลฝากขายสินค้า, ความรวดเร็วในการประมวลผลของเว็บไซต์ และความน่าเชื่อถือได้ของเว็บไซต์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดและค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านความสะดวกต่อการใช้งานเว็บไซต์ ตารางที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ด้านความสะดวกต่อการใช้งานเว็บไซต์ จากตารางที่4 พบว่าความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์ที่สร้างขึ้นด้านความง่ายต่อการใช้งานเว็บไซต์โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมิน พบว่า ความเหมาะสมในการใช้ข้อความเพื่ออธิบายสื่อความหมาย, ความเหมาะสมในการใช้สัญลักษณ์หรือรูปภาพในการสื่อความหมาย และคำศัพท์ที่ใช้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและสามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย โดยความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด 5) ผลการวิเคราะห์ข้อมลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ในภาพรวมทุกด้าน ตารางที่5 ผลการวิเคราะห์ข้อมลประเมินผลการใช้เว็บไซต์ในภาพรวมทุกด้าน จากตารางที่5 ความพึงพอใจในการเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์โดยภาพรวมทุกด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความง่ายต่อการใช้งานเว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด |
|
11. การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์และสรุป | |
จากการสร้างเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์พบว่าเว็บไซต์ฝากขายสินค้าสามารถใช้งานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์ส่วนใหญ่อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ซึ่งเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์คือ เว็บไซต์สามารถสมัครสมาชิก และสามารถ แก้ไขข้อมูลสมาชิกได้ตามต้องการ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรับส่ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ลงขายสินค้าได้ตามตรงการของผู้ใช้งาน และยังสามารถค้นหาหัวข้อของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในส่วนของระบบผู้ดูแลสามารถ เพิ่มประเภทของสินค้าได้อย่างง่าย โดยระบบเฟรมเวิร์กที่ใช้งาน สามารถนำไปต่อยอดในการปรับปรุง ไปใช้ในธุรกิจออนไลน์อย่างอื่นได้อีก ซึ่งง่ายเข้าใจและใช้งาน โดยเว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์มีจุดเด่นคือ เมื่อต้องการสอบถามสินค้าที่สนใจจะซื้อ ผู้ใช้สามารถเขียนรายละเอียดการสิบถามสินค้ากับผู้ใช้ท่านอื่นได้เลยโดยไม่ต้องสมัครสมาชิก และเว็บไซต์สามารถสรุปจำนวนการเข้าชมสินค้าได้ในทุกๆครั้งของการเข้าชมสินค้า และในส่วนของระบบผู้ดูแลสามารถเพิ่มประเภทสินค้าได้ตามต้องการและสามารถดูข้อมูลสมาชิกของเว็บไซต์ได้ตามต้องการโดยในระบบผู้ดูแลนั้นสามารถปรับปรุงรูปแบบของเว็บไซต์ได้ตามต้องการ เช่น การเปลี่ยนธีมของเว็บไซต์ การเปลี่ยนสีสันบนเว็บไซต์ เป็นต้น จุดด้อยของเว็บไซต์จากข้อเสนอแนะของกลุ่มประชากรตัวอย่างและจากการใช้งานทำให้สามารถสรุปข้อด้วยของเว็บไซต์ได้คือ ระบบมีตัวหนังสือขนาดเล็กเกินไปทำให้มองผู้ใช้งานบ้างคน มองเห็นตัวหนังสือไม่ค่อยชัด เว็บไซต์ไม่สามารถแสดงโชวสินค้าตัวอย่างจากผู้ใช้งานได้ นอกจากจุดเด่นและจุดด้อยของเว็บไซต์ยังมีด้านตรงความต้องการของผู้ใช้ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ด้านการทำงานได้ตามเมนูการทำงานของเว็บไซต์ ด้านความสะดวกต่อการใช้งานเว็บไซต์ ทั้งหมดอยู่ในระดับพึงพอใจมากเพราะเว็บไซต์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ทุกอย่างตามที่ผู้จัดทำได้ทำออกแบบเว็บไซต์ ทำให้ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์และการออกแบบระบบเป็นอย่างมากเพราะในการออกแบบระบบทุกครั้งจะต้องนึกถึงความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก |
|
12. ข้อเสนอแนะ | |
1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 ในการใช้งานเว็บไซต์ควรศึกษาการทำงานของเว็บไซต์จากคู่มือการใช้เว็บไซต์ 1.2 ในข้อมูลที่ลูกค้าได้ทำซื้อขายสินค้ากันแล้วควรเก็บข้อมูลการขายนั้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการซื้อขายสินค้าบนเว็บไซต์ 1.3 เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์สร้างขึ้นมาจากระบบเฟรมเวิร์คจึงง่ายต่อการแก้ไขข้อมูลของเว็บไซต์ 1.4 เว็บไซต์ฝากขายสินค้าออนไลน์สามารถนำไปประยุกต์ปรับเปลี่ยนเป็นเว็บไซต์ทำธุระกิจอย่างอื่นได้ 2) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรแบ่งการใส่ข้อมูลสินค้าโดยกำหนดเป็นหัวข้อ 2.2 ควรสร้างหรือพัฒนาเมนูโปรโมทสินค้าในเว็บไซต์ |
|
13. บรรณานุกรม | |
กิตินันท์ พลสวัสดิ์. คู่มือเรียนและใช้งาน Visual C# 2010 ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : DevBook,2555 ทฏษฏีการออกแบบเว็บไซต์(ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 27 ธันวาคม 2558 จาก : https://krupiyadanai.wordpress.com ทฏษฏีการจัดการร้านค้าออนไลน์(ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 27 ธันวาคม 2558 จาก : https://www.msit.mut.ac.th ระบบหลังร้าน-หน้าร้าน e-commerce(ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 10 ธันวาคม 2558 จาก : https://www.lnwshop.com ระบบโครงสร้างSimpleMachinesForum (ออนไลน์).สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2558 จาก : https://www.mindphp.com/ |
|
14. ประวัติผู้จัดทำโครงการ | |
ชื่อ-สกุล:นายจิตรภาณุ ยะยวง เกิดเมื่อวันที่:27 กรกฏาคม 2538 ที่อยู่ปัจจุบัน:134 หมู่ 4 ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54160 วุฒิการศึกษา:ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร:088-2606752 อีเมล์:mondoik009@hotmail.com ชื่อ-สกุล:นายธนพล ติณชาติกาญจน์ เกิดเมื่อวันที่:29 มกราคม 2538 ที่อยู่ปัจจุบัน:1/16 ม.1 ต.ทุ่งกาวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000 วุฒิการศึกษา:ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขางานคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ เบอร์โทร:0827642421 อีเมล์:thanapon234@gmail.com |
|
ลิงค์ Youtube vdo | |